Page 56 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง
P. 56

2-38








                                  สําหรับความตองการการบริโภคขาวของโลกมีแนวโนมเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 387.15
                       ลานตันขาวสารในป 2542 เพิ่มขึ้นเปน 408.01 และ 412.47 ลานตันขาวสาร ในป 2546 และ 2547

                       ตามลําดับ โดยในชวง 6 ป (ป 2542 – 2547) ความตองการขาวของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย

                       รอยละ 1.52 ตอป ตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ในชวงดังกลาวปริมาณการบริโภคขาว
                       ของประเทศตางๆมีแนวโนมเพิ่มขึ้น นอกจากประเทศญี่ปุน เกาหลีเหนือและไตหวัน ซึ่งปริมาณ

                       การบริโภคขาวลดลง ประเทศที่บริโภคขาวมากที่สุดคือ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

                       โดยในชวงป 2542 – 2547 ปริมาณการบริโภคขาวคิดเปนสัดสวนรอยละ  32.73 – 34.50

                       ของปริมาณการบริโภคขาวของโลก ในป 2547 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนบริโภคขาว

                       135.00 ลานตันขาวสาร คิดเปนรอยละ 32.73 ของปริมาณการบริโภคขาวของโลก ในชวง 6 ป
                       ดังกลาว ปริมาณการบริโภคขาวของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย

                       รอยละ 0.21 ตอป รองลงมาไดแก ประเทศอินเดีย ปริมาณการบริโภคขาวในชวง 6 ปดังกลาว

                       คิดเปนสัดสวนรอยละ 19.19 – 21.28 ในป 2547 ประเทศอินเดียบริโภคขาว 83.75 ลานตันขาวสารหรือ
                       รอยละ 20.30 ของปริมาณการบริโภคขาวของโลก โดยในชวง 6 ป (2542 – 2547 ) ปริมาณการบริโภคขาว

                       ของประเทศอินเดียเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย รอยละ 0.99  ตอป ประเทศที่บริโภคขาวมากเปนอันดับ

                       ถัดมาไดแก อินโดนีเซีย บังคลาเทศ เวียดนามและประเทศไทย เปนตน จะเห็นวาประเทศที่บริโภคขาว

                       เปนปริมาณมากเปนประเทศที่ผลิตขาวไดมากของโลกเชนกันโดยอยูในทวีปเอเชียทั้งสิ้น เมื่อพิจารณา
                       อัตราการเพิ่มของการบริโภคขาวในชวง 6 ป ดังกลาวเปนรายประเทศจะเห็นวา ประเทศฟลิปปนส

                       มีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยตอปสูงกวาประเทศอื่นๆ  กลาวคือ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยรอยละ 5.09 ตอป รองลงมาไดแก

                       ประเทศบังคลาเทศ อิยิปต ไทย และเวียดนาม ตามลําดับ (ตารางที่ 2 – 15)

                                     2.5.1   แหลงผลิตที่สําคัญ
                                                แหลงปลูกขาวนาปรังที่สําคัญของประเทศไทยอยูในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง

                       โดยป 2547 มีพื้นที่ปลูกขาวนาปรังในจังหวัดภาคกลางรวม 5,339,820 ไร  คิดเปนสัดสวน

                       รอยละ 56.61 ของพื้นที่ปลูกขาวนาปรังทั้งประเทศ พื้นที่ปลูกในภาคเหนือรอยละ 3,046,502

                       ไร (รอยละ 32.30) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 804,599  ไร (รอยละ 8.53) และภาคใต 241,010 ไร (รอยละ

                       2.56) ผลผลิตขาวนาปรังในภาคกลาง 3,782,706  ตัน  คิดเปนสัดสวนรอยละ 59.74 ของผลผลิตขาวนา
                       ปรัง   ในป 2547  ปริมาณผลผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 404,548  ตัน (รอยละ 6.39)

                       ภาคเหนือ 2,037,217 ตัน (รอยละ 32.17) และภาคใต 107,274 ตัน (รอยละ 1.69) เปนตน จังหวัดที่มี

                       พื้นที่ปลูกมากที่สุดคือ จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากกวาจังหวัดอื่นๆทุกปในชวง 3 ปที่ผานมา









                       เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจขาวนาปรัง                     สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61