Page 176 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมังคุด
P. 176

6-2








               เปนรายภาคพบวา ในภาคตะวันออกเขตการใชที่ดินมีความเหมาะสมมากมีเนื้อที่ 116,861  ไร
               พบมากที่จังหวัด จันทบุรี   มีเนื้อที่ 100,168 ไร เขตการใชที่ดินมีความเหมาะสมปานกลางมีเนื้อที่

               86,386 ไร พบมากที่จังหวัดจันทบุรี   มีเนื้อที่ 47,178 ไร   ภาคใตเขตการใชที่ดินมีความเหมาะสมมาก

               มีเนื้อที่ 143,392 ไร พบมากที่จังหวัด นครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ 45,016 ไรเขตการใชที่ดินมีความเหมาะสม
               ปานกลางมีเนื้อที่ 43,423  ไร  พบมากที่จังหวัดชุมพร มีเนื้อที่ 13,637 ไร (ตารางที่ 6-1)  และ

               การกระจายของเขตการใชที่ดินแสดงในรูปที่ 6-1 ถึง 6-21

                       นอกจากนี้ไดพิจารณาเขตการใชที่ดินในระดับตําบล (ตารางที่ 6-2) เพื่อเปนแนวทางใหกับ
               หนวยงานของรัฐบาลในการกําหนดแผนการพัฒนาในแตละพื้นที่ใหมีความสอดคลองกับ

               สภาพความเปนจริง   ซึ่งจะสงผลใหการแกไขปญหาโดยเฉพาะทางดานการเกษตรที่เกี่ยวกับ

               มังคุดตรงประเด็นมากขึ้น   เพราะมังคุดจัดเปนพืชที่มีอนาคตไกลหากไดรับความรวมมือจากเกษตรกร
               และหนวยงานที่เกี่ยวของใหการสนับสนุนอยางเต็มที่   ราชินีผลไมของเมืองไทยก็สามารถนําเงิน

               เขาสูประเทศและสรางรายไดใหกับเกษตรกรเปนอยางดี


                       ขอเสนอแนะ

                       1. การพิจารณาคัดเลือกพื้นที่สงเสริมการปลูกมังคุด หนวยราชการควรนําขอมูลการกําหนด

               เขตการใชที่ดินสําหรับปลูกมังคุดไปใชใหเปนประโยชน  เพราะพื้นที่ที่กําหนดเขตการใชที่ดินวามี

               ความเหมาะสมสูงและเหมาะสมปานกลางจะเปนพื้นที่ซึ่งคาดวาจะใหผลผลิตปริมาณสูง และ
               ควรคํานึงถึงสวนประกอบอื่น ๆ อาทิ อยูใกลแหลงรับซื้อ บริเวณดังกลาวมีเกษตรกรจํานวนหลายราย

               เพื่อภาครัฐจักไดสนับสนุนใหมีการรวมกลุมการผลิตและจําหนาย

                       2.  ควรสงเสริมใหเกษตรกรมีการปรับปรุงบํารุงดินโดยใชอินทรียวัตถุตาง ๆ เชน ปุยหมัก
               และ ปุยคอก เปนตน  ผลการสํารวจพบวา เกษตรกรที่ปลูกมังคุดไดใชปุยดังกลาวควบคูกับปุยเคมี

               อยูแลว   เกษตรกรที่สํารวจสวนใหญเห็นวาวิธีการนี้จะชวยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมังคุดได

               และจากผลการสํารวจพบวาเกษตรกรประสบปญหาปจจัยการผลิตซึ่งสวนใหญเปนปุยเคมีมีราคาสูง
               ดังนั้นเพื่อลดปริมาณการใชปุยเคมีอันจะเปนการประหยัดตนทุนและเปนการเพิ่มรายไดใหแก

               เกษตรกร จึงควรที่หนวยงานของรัฐเชนกรมพัฒนาที่ดินจักเขาไปสงเสริมใหเกษตรกรใชปุยอินทรีย

               ควบคูกับการใชปุยเคมีซึ่งอาจจะทําแปลงสาธิต ประชาสัมพันธการใชปุยอินทรีย ปุยหมักของเกษตรกร

               โดยผานทางตัวแทนกรม คือ หมอดินอาสาและหนวยงานของกรม ฯ ในพื้นที่
                       3. สนับสนุนใหมีการรวมกลุมเกษตรกรในการพัฒนาพื้นที่ปลูกขนาดเล็กใหใหญขึ้น

               จากการสํารวจพบวาเกษตรกรมีพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยนอยกวา 5 ไรตอราย  การที่มีพื้นที่ขนาดใหญ

               ก็เพื่อสะดวกและเหมาะสมในการที่จะพัฒนาการใชเครื่องจักรกลการเกษตรในกระบวนการผลิต

               มังคุดมากขึ้น



               เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมังคุด                                                                                           สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181