Page 11 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมังคุด
P. 11
1-2
1.2 วัตถุประสงค
1.2.1 เพื่อกําหนดเขตการใชที่ดินที่เหมาะสมทั้งทางดานกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม
1.2.2 เพื่อใชเปนฐานขอมูลในการกําหนดแผนงานพัฒนาพืชเศรษฐกิจ มังคุด ในระดับพื้นที่
1.2.3 เพื่อเปนขอมูลในการวางแผนการผลิตและการตลาด สําหรับการสงออกและการบริโภค
ภายในประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมตอเนื่องที่เกี่ยวของ
1.3 ขั้นตอนและวิธีดําเนินการ
1.3.1 การรวบรวมขอมูล ทําการรวบรวมขอมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ ดังนี้
1.3.1.1 ขอมูลทุติยภูมิ รวบรวมขอมูลพื้นฐานตาง ๆ ทั้งขอมูลเชิงอรรถาธิบายและขอมูล
เชิงพื้นที่เพื่อเปนขอมูลเบื้องตนในการศึกษา เชน สถิติเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต วิธีการปลูกและ
ดูแลรักษา ตนทุนการปลูกมังคุด สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ํา ทรัพยากรปาไม
สภาพการใชที่ดินฯลฯ จากหนวยงานที่เกี่ยวของ อาทิ กรมสงเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
กรมชลประทาน สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมศุลกากร กรมการคาภายใน กรมการปกครอง
กรมอุตุนิยมวิทยา เปนตน พิจารณาประกอบกับนโยบายของรัฐ
1.3.1.2 ขอมูลปฐมภูมิ สํารวจขอมูลเกษตรกรผูปลูกมังคุดในปการผลิต 2547/48 โดยใช
แบบสอบถามขอมูลทางดานเศรษฐกิจและสังคม ดวยวิธีการสุมตัวอยางแบบงาย (Simple Random
Sampling) ซึ่งจุดเก็บตัวอยางจะเปนจุดที่ไดกําหนดไวในแผนที่ที่ไดวิเคราะหและจัดชั้นความเหมาะสม
ของที่ดินไวแลว จําแนกพื้นที่เก็บตัวอยางตามระดับความเหมาะสมสูง (S1) ปานกลาง (S2) และ
เล็กนอย (S3) ณ ระดับความเชื่อมั่น 90%±10 (ภาคผนวกที่ 1) รายละเอียดขอมูลที่เก็บ ไดแก
พื้นที่ปลูก ผลผลิต ราคา มูลคา ปริมาณและมูลคาการใชปจจัยการผลิต ปญหาและความตองการ
ความชวยเหลือจากรัฐ ตําแหนงพิกัดจุดที่ตั้งของแปลงปลูกพืช ชื่อหมูบาน ตําบล อําเภอ จังหวัด
เปนตน มีจํานวนตัวอยางรวมทั้งสิ้น 423 ตัวอยาง ใน 14 จังหวัดที่เปนแหลงปลูกที่สําคัญของแตละภาค
ดังนี้
ภาคใต ไดแก จังหวัดชุมพร สุราษฎรธานี สตูล พังงา ระนอง กระบี่ นครศรีธรรมราช
ตรัง พัทลุง ภูเก็ต และสงขลา
ภาคตะวันออก ไดแก จังหวัดจันทบุรี ระยองและตราด
เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมังคุด สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน