Page 10 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองฤดูแล้งในเขตชลประทาน
P. 10

บทที่ 1

                                                             บทนํา





                       1.1  หลักการและเหตุผล


                                ถั่วเหลือง เปนพืชเศรษฐกิจที่สําคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทยที่สามารถผลิตและ

                       นํามาใชในอุตสาหกรรมตอเนื่อง  แปรรูปเปนการผลิตภัณฑอาหารชนิดตางๆ  เพื่อการบริโภค

                       ทั้งผลิตภัณฑและฝกสดตลอดจนอุตสาหกรรมอาหาร ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองในชวงที่ผานมา
                       มีแนวโนมลดลงเรื่อยๆ จากในป 2543  มีพื้นที่ 1.4  ลานไร มาปปจจุบันมีพื้นที่ ประมาณ 1.1 ลานไร

                       ไดผลผลิต 2.7  แสนตัน  ผลผลิตเฉลี่ย 227 กิโลกรัมตอไร  ซึ่งพื้นที่ปลูกมากกวารอยละ 50 เปนถั่วเหลือง

                       ฤดูแลง ในขณะที่ความตองการใชภายในประเทศปละประมาณ 1.5 ลานตัน ซึ่งไมเพียงพอกับความ
                       ตองการ จึงมีการนําเขาในรูปกาก เมล็ด และน้ํามัน คิดเปนมูลคาประมาณ 1.8 หมื่นลานบาทตอป

                       นับวาเปนพืชเศรษฐกิจที่มีความสําคัญมากในปจจุบัน

                                การพัฒนาการผลิตถั่วเหลืองของประเทศจําเปนตองมุงเนนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
                       เพื่อเพิ่มผลผลิต และลดตนทุนการผลิตตอหนวยใหต่ําลง  การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลืองนั้น

                       สามารถดําเนินการในฤดูแลงไดดีกวาในฤดูฝน  เนื่องจากการปลูกถั่วเหลืองในฤดูแลงสามารถ

                       ควบคุมการใหน้ําไดในขณะที่ในฤดูฝนการปลูกถั่วเหลืองมักประสบปญหาภัยธรรมชาติ  ฝนแลง
                       หรือน้ําทวมอยูเสมอ

                                การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลืองฤดูแลง   สามารถทําไดโดยการปรับปรุง

                       เทคโนโลยีการผลิตใหเหมาะสมกับพื้นที่ โดยเฉพาะการปลูกถั่วเหลืองฤดูแลงหลังนาในเขตชลประทาน

                       ในสถานการณความแหงแลงที่ปริมาณน้ําขาดแคลนในปจจุบัน  ซึ่งเทคโนโลยีดังกลาวมิใช
                       เทคโนโลยีใหม แตเปนเพียงการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตที่มีอยูเดิมใหถูกตองเหมาะสม

                       ก็จะสามารถยกระดับผลผลิตตอไร  และลดตนทุนการผลิตตอหนวยน้ําหนักถั่วเหลืองลงได

                       นั่นหมายถึงการเพิ่มกําไรสุทธิตอไรใหสูงขึ้น  คุมคากับการลงทุนมากที่สุด ดังนั้น การกําหนด

                       เขตการใชที่ดินจึงมีความสําคัญอยางมากในการขยายพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองฤดูแลงไปในพื้นที่
                       ที่มีศักยภาพการผลิตโดยเฉพาะในเขตชลประทานที่สามารถควบคุมปริมาณน้ําได
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15