Page 16 - การประเมินผลสัมฤทธิ์กิจกรรมด้านการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำของกรมพัฒนาที่ดิน ประจำปีงบประมาณ 2566
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 1
บทน ำ
1.1 หลักกำรและเหตุผล
การสูญเสียดินที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดินพบกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
ทั้งในพื้นที่สูงที่เป็นป่าต้นน้้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลต่อเนื่องจากการที่ทรัพยากรป่าไม้ถูกท้าลาย ท้าให้น้้าจากฝน
ที่ตกลงมาไหลบ่าจากที่สูงลงสู่ที่ลุ่มต่้าอย่างรวดเร็ว เกิดการกัดเซาะพังทลายของหน้าดิน ท้าให้ดินสูญเสีย
ความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลต่อพื้นที่เกษตรกรรม ท้าให้ชั้นดินบนซึ่งมีธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุในดินอยู่
เกิดการสูญเสียไปกับน้้าไหลบ่าหน้าดิน โครงสร้างของดินถูกท้าลาย ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ความอุดม
สมบูรณ์และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินลดลงจนถึงระดับที่ไม่สามารถท้าการเกษตรได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ การจัดการที่ดินที่ไม่เหมาะสมตามสภาพปัญหาของพื้นที่ การใช้ที่ดินโดยปราศจากการ
บ้ารุงรักษาขาดการอนุรักษ์ดินและน้้าอย่างถูกหลักวิชาการยิ่งส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและ
ที่ดินอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ รวมถึง
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตของเกษตรกร น้าไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร
นอกจากนั้นยังมีการสูญเสียของหน้าดินจากภัยธรรมชาติ ดินถล่ม หรือโคลนถล่มที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง
ชั้นดิน ท้าลายระบบนิเวศและชุมชน ท้าให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งควรมีการเตรียมการ
เฝ้าระวังและป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับพื้นที่ป่าต้นน้้า พื้นที่การเกษตร
และพื้นที่อยู่อาศัยของเกษตรกร
กรมพัฒนาที่ดิน มีภารกิจส้าคัญเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่ดิน โดยการพัฒนาที่ดิน
เพื่ออนุรักษ์ดินและน้้า ซึ่งมาตรการด้านการอนุรักษ์ดินและน้้าจะช่วยลดแรงกัดเซาะของดิน เป็นการระวัง
รักษาและป้องกันดินมิให้ถูกชะล้างและพัดพาไป ตลอดจนปรับปรุงบ้ารุงดินให้คงความอุดมสมบูรณ์
ปรับโครงสร้างพื้นฐานของดินในพื้นที่ ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช พร้อมทั้งช่วยรักษาระบบนิเวศทางดิน
ให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยในแต่ละปีกรมพัฒนาที่ดินได้จัดท้าระบบอนุรักษ์ดินและน้้า
ผ่านโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ โดยการจัดท้าแปลงสาธิตการอนุรักษ์ดินและน้้า รวมถึงแนะน้าให้ความรู้
แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึงผลเสียในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ถูกวิธี และทราบถึงวิธีการอนุรักษ์
ดินและน้้าที่เกษตรกรสามารถน้าไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้
ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 กรมพัฒนาที่ดินได้ด้าเนินการจัดท้า
ระบบอนุรักษ์ดินและน้้าผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จ้านวน 21 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุน
การปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-Map กิจกรรมพัฒนาและแก้ปัญหาการแพร่กระจาย
ดินเค็ม กิจกรรมพัฒนาและเพิ่มศักยภาพพื้นที่ทุ่งรังสิต กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เกษตรกรรมในพื้นที่ทุ่งมหาราช กิจกรรมพัฒนาพื้นที่โครงการหลวง กิจกรรมส่งเสริมการด้าเนินงาน
อันเนื่องมาจากพระราชด้าริ กิจกรรมส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรมจัดท้า
ระบบอนุรักษ์ดินและน้้าเพื่อการปลูกพืชผสมผสานในพื้นที่สวนยางพาราและสวนปาล์มน้้ามันภาคใต้ กิจกรรม
พัฒนาพื้นที่นาร้างเพื่อปลูกพืชเกษตรผสมผสาน กิจกรรมเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมจัดท้าระบบอนุรักษ์ดินและน้้าบนพื้นที่ลุ่ม-ดอน กิจกรรมจัดท้าระบบ
อนุรักษ์ดินและน้้าชุมชนบนพื้นที่สูง กิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้้าในพื้นที่เสี่ยงต่อดินถล่ม กิจกรรมอนุรักษ์
ดินและน้้าในพื้นที่เกษตรที่มีความวิกฤตต่อการสูญเสียหน้าดิน กิจกรรมเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐาน