Page 75 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน 2566
P. 75

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                           60

                                1) พื้นที่นา (A1) มีเนื้อที่ 611,970 ไร่ หรือร้อยละ 22.75 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่

                  นาข้าว มีเนื้อที่ 583,760 ไร่ หรือร้อยละ 21.70 ของเนื้อที่จังหวัด นาร้าง มีเนื้อที่ 21,142 ไร่ หรือร้อยละ
                   0.79 ของเนื้อที่จังหวัด และนาข้าวในพื้นที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 7,068 ไร่ หรือร้อยละ 0.26 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ปลูกกระจายทั่วทุกอำเภอ

                                2) พืชไร่ (A2) มีเนื้อที่ 29,812 ไร่ หรือร้อยละ 1.11 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                  มันสำปะหลัง พืชไร่ผสม อ้อย และพืชไร่อื่น ๆ
                                      (1) มันสำปะหลัง (A204) มีเนื้อที่ 20,960 ไร่ หรือร้อยละ 0.78 ของเนื้อที่
                  จังหวัด ปลูกมากในอำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย และปลูกกระจายทั่วทุกอำเภอ
                                      (2) พืชไร่ผสม (A201) มีเนื้อที่ 2,514 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของเนื้อที่จังหวัด

                  ปลูกมากในอำเภอเมืองบึงกาฬ และปลูกกระจายทั่วทุกอำเภอ
                                      (3) อ้อย (A203) มีเนื้อที่ 2,171 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ปลูกมากในอำเภอบึงโขงหลง และอำเภอเซกา

                                      (4) พืชไร่อื่น ๆ ได้แก่ ไร่ร้าง ข้าวโพด สับปะรด ยาสูบ และแตงโม มีเนื้อที่
                  4,167 ไร่ หรือร้อยละ 0.16 ของเนื้อที่จังหวัด พบปลูกกระจายในทุกอำเภอ
                                3) ไม้ยืนต้น (A3) มีเนื้อที่ 1,413,772 ไร่ หรือร้อยละ 52.54 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                  ยางพารา ยูคาลิปตัส ปาล์มน้ำมัน และไม้ยืนต้นอื่น ๆ

                                      (1) ยางพารา (A302) มีเนื้อที่ 1,263,991 ไร่ หรือร้อยละ 46.97 ของเนื้อที่
                  จังหวัด ปลูกมากในอำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย และปลูกกระจายทั่วทุกอำเภอ
                                      (2) ยูคาลิปตัส (A304) มีเนื้อที่ 61,830 ไร่ หรือร้อยละ 2.30 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ปลูกมากในอำเภอโซ่พิสัย อำเภอเซกา อำเภอเมืองบึงกาฬ และปลูกกระจายทั่วทุกอำเภอ

                                      (3) ปาล์มน้ำมัน (A303) มีเนื้อที่ 58,890 ไร่ หรือร้อยละ 2.19 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ปลูกมากในอำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอเซกา และปลูกกระจายทั่วทุกอำเภอ
                                      (4) ไม้ยืนต้นอื่น ๆ ได้แก่ ไม้ยืนต้นร้าง/เสื่อมโทรม ไม้ยืนต้นผสม สัก กระถิน
                  ไผ่ปลูกเพื่อการค้า และกฤษณา มีเนื้อที่ 29,061 ไร่ หรือร้อยละ 1.08 ของเนื้อที่จังหวัด

                                4) ไม้ผล (A4) มีเนื้อที่ 6,902 ไร่ หรือร้อยละ 0.24 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ ไม้ผลผสม
                  ทุเรียน กล้วย และไม้ผลอื่น ๆ
                                      (1) ไม้ผลผสม (A401) มีเนื้อที่ 2,705 ไร่ หรือร้อยละ 0.10 ของเนื้อที่จังหวัด

                  ปลูกมากในอำเภอเซกา อำเภอเมืองบึงกาฬ และปลูกกระจายทั่วทุกอำเภอ
                                      (2) ทุเรียน (A403) มีเนื้อที่ 1,531 ไร่ หรือร้อยละ 0.06 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ปลูกมากในอำเภอเซกา อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบึงโขงหลง และปลูกกระจายทั่วทุกอำเภอ
                                      (3) กล้วย (A411) มีเนื้อที่ 951 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของเนื้อที่จังหวัด ปลูกมาก
                  ในอำเภอปากคาด อำเภอเมืองบึงกาฬ และปลูกกระจายทั่วทุกอำเภอ

                                      (4) ไม้ผลอื่น ๆ ได้แก่ ส้ม เงาะ มะพร้าว ลิ้นจี้ มะม่วง มะขาม ลำไย ฝรั่ง ขนุน
                  มังคุด ระกำ สละ มะนาว แก้วมังกร ส้มโอ มะปราง มะยงชิด และไม้ผลร้าง/เสื่อมโทรม มีเนื้อที่ 1,715 ไร่
                  หรือร้อยละ 0.04 ของเนื้อที่จังหวัด
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80