Page 74 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน 2566
P. 74

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                           59


                  2.6 สภาพการใช้ที่ดินจังหวัดบึงกาฬ ปี พ.ศ. 2566

                           จังหวัดบึงกาฬ มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,691,091 ไร่ สามารถจำแนกประเภทการใช้ที่ดินได้ ออกเป็น
                  5 ประเภท คือ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) มีเนื้อที่ 120,782 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.50 ของเนื้อที่

                  จังหวัด พื้นที่เกษตรกรรม (A) มีเนื้อที่ 2,067,071 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 76.81 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ป่าไม้ (F)
                  มีเนื้อที่ 160,226 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.95 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่น้ำ (W) มีเนื้อที่ 175,342 ไร่
                  คิดเป็นร้อยละ 6.52 ของเนื้อที่จังหวัด และพื้นที่เบ็ดเตล็ด (M) มีเนื้อที่ 167,670 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.22

                  ของเนื้อที่จังหวัด โดยการใช้ประโยชน์ในพื้นที่แต่ละประเภทมีรายละเอียด (ภาพที่ 6 และตารางที่ 6)
                  ดังนี้
                           2.6.1 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) มีเนื้อที่ 120,782 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.50 ของเนื้อที่
                  จังหวัด ประกอบด้วยตัวเมืองและย่านการค้า หมู่บ้านบนพื้นราบ สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ

                  สถานีขนส่ง ถนน พื้นที่อุตสาหกรรมร้าง โรงงานอุตสาหกรรม ลานตากและแหล่งรับซื้อทางการเกษตร
                  สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รีสอร์ท โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ สุสาน ป่าช้า และสถานีบริการน้ำมัน
                                1) ตัวเมืองและย่านการค้า (U1) มีเนื้อที่ 11,010 ไร่ หรือร้อยละ 0.41 ของเนื้อที่
                  จังหวัด ประกอบด้วย ตัวอำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอบึงโขงหลง

                  อำเภอศรีวิไล อำเภอปากคาด และอำเภอบุ่งคล้า
                                2) หมู่บ้าน (U2) มีเนื้อที่ 72,440 ไร่ หรือร้อยละ 2.69 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ หมู่บ้าน
                  บนพื้นราบ ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วไปในทุกอำเภอ
                                3) สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ (U3) มีเนื้อที่ 23,866 ไร่ หรือร้อยละ 0.89 ของ

                  เนื้อที่จังหวัด ได้แก่ สถานที่ราชการ โรงพยาบาล โรงเรียน และวัดต่าง ๆ เช่น วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ
                  วิทยาลัยเทคนิคเซกา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศูนย์การศึกษาบึงกาฬ เป็นต้น
                                4) สถานีคมนาคม (U4) มีเนื้อที่ 7,197 ไร่ หรือร้อยละ 0.27 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่

                  ถนน และสถานีขนส่ง
                                5) ย่านอุตสาหกรรม (U5) มีเนื้อที่ 4,540 ไร่ หรือร้อยละ 0.17 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                  โรงงานอุตสาหกรรม ลานตากและแหล่งรับซื้อทางการเกษตร มีเนื้อที่ 4,337 และ 176 ไร่ หรือร้อยละ
                  0.16 และ 0.01 ของเนื้อที่จังหวัด และพื้นที่อุตสาหกรรมร้าง มีเนื้อที่ 27 ไร่
                                6) สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ (U6) มีเนื้อที่ 1,729 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่จังหวัด

                  ประกอบด้วยสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีเนื้อที่ 482 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                  สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร สนามกีฬา เป็นต้น รีสอร์ท โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ มีเนื้อที่ 990 ไร่
                  หรือร้อยละ 0.04 ของเนื้อที่จังหวัด สุสาน ป่าช้า มีเนื้อที่ 81 ไร่ และสถานีบริการน้ำมัน มีเนื้อที่ 176 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.01 ของเนื้อที่จังหวัด
                           2.6.2 พื้นที่เกษตรกรรม (A) มีเนื้อที่ 2,067,071 ไร่ หรือร้อยละ 76.81 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ประกอบด้วยพื้นที่นา พืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ผล พืชสวน ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ สถานที่เพาะเลี้ยง
                  สัตว์น้ำ และเกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79