Page 41 - รายงานการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลการสำรวจระยะไกลจากซอฟต์แวร์รหัสเปิดและคลาวด์คอมพิวติงเพื่องานพัฒนาที่ดิน Utilization of Remote Sensing Database derived from Open-source software and Cloud computing platform for Land Development
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           33







                       ภาพด้วยสายตา อาจจ าเป็นต้องพิจารณาจากหลายองค์ประกอบร่วมกัน ได้แก่ สี (color) ความเข้มของสี
                       (Tone) ขนาด (Size) รูปร่าง (Shape) เนื้อภาพ (Texture) ความสูง (Height) และ เงา (shadow) เป็นต้น
                       (อมร, 2558) ซึ่งในการจ าแนกการใช้ที่ดินในแต่ละพื้นที่ สามารถจ าแนกจากความเข้มของสีและสีบนภาพ
                       โดยพิจารณาองค์ประกอบหลักที่ส าคัญ (Elements of interpretation) ได้แก่

                                     1. ความเข้มของสีและสี (Tone/Color) ระดับความแตกต่างของความเข้มของสีหนึ่งๆ มี
                       ความสัมพันธ์กับค่าการสะท้อนของช่วงคลื่นและการผสมสีของช่วงคลื่นต่างๆ เช่น น้ าในช่วงคลื่นอินฟราเรด
                       ใกล้ถูกดูดกลืนท าให้ปรากฏเป็นสีด า ในภาพสีผสมพืชพรรณปรากฏเป็นสีแดงเมื่อก าหนดให้ช่วงคลื่น
                       อินฟราเรดใกล้เป็นสีแดง ช่วงคลื่นสีแดงก าหนดให้เป็นสีเขียว และช่วงคลื่นสีเขียวก าหนดให้เป็นสีน้ าเงิน

                                     2. ขนาด (Size) ขนาดของภาพวัตถุที่ปรากฏในข้อมูลจากดาวเทียมขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุ
                       และมาตราส่วนของข้อมูลจากดาวเทียม เช่น ความยาว ความกว้าง หรือพื้นที่ แสดงให้เห็นความแตกต่างของ
                       ขนาดระหว่างแม่น้ าและล าคลอง
                                     3. รูปร่าง (Shape) รูปร่างของวัตถุที่เป็นเฉพาะตัวอาจสม่ าเสมอ (Regular) หรือไม่

                       สม่ าเสมอ (Irregular) วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นมีรูปร่างส่วนใหญ่เป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น สนามบิน พื้นที่นา
                       ข้าว ถนนคลองชลประทาน และเขื่อนเก็บกักน้ า เป็นต้น
                                     4. เนื้อภาพ (Texture) หรือความหยาบละเอียดของผิววัตถุ เป็นผลมาจากความแปรปรวน

                       หรือความสม่ าเสมอของวัตถุ เช่น น้ ามีลักษณะเรียบ และป่าไม้มีลักษณะขรุขระ เป็นต้น
                                     5. รูปแบบ (Pattern) ลักษณะการจัดเรียงตัวของวัตถุปรากฏเด่นชัดระหว่างความแตกต่าง
                       ตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แม่น้ า คลอง กับคลองชลประทาน บ่อ และสระน้ ากับเขื่อน เป็นต้น
                                     6. ความสูงและเงา (Height and Shadow) เงาของวัตถุมีความส าคัญในการค านวณหา
                       ความสูงและมุมสูงของดวงอาทิตย์ เช่น เงาบริเวณเขาหรือหน้าผา เงาของเมฆ เป็นต้น

                                     7. ที่ตั้ง (Site) หรือต าแหน่งของวัตถุที่พบตามธรรมชาติ เช่น พื้นที่ป่าชายเลนพบบริเวณ
                       ชายฝั่งทะเลน้ าท่วมถึง สนามบินอยู่ใกล้แหล่งชุมชน เป็นต้น
                                     8. ความเกี่ยวพัน (Association) หมายถึงความเกี่ยวพันขององค์ประกอบทั้ง 7 ที่กล่าวมา

                       เช่นบริเวณที่มีต้นไม้เป็นกลุ่มๆ มักเป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน ไร่เลื่อนลอยอยู่ในพื้นที่ป่าไม้บนเขา นากุ้งอยู่บริเวณ
                       ชายฝั่งรวมกับป่าชายเลน เป็นต้น
                                     การใช้ที่ดินโดยพิจารณาจากสีบนภาพถ่ายนิยมการผสมสีเท็จแบบต่างๆ ซึ่งท าให้สามารถ
                       จ าแนกวัตถุบนพื้นโลกได้ง่ายขึ้น เช่น การผสมแบบเท็จของภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT 8 แบบแบนด์ 5R-

                       6G-4B ท าสีของบริเวณอ่างเก็บน้ า (W201) มีสีน้ าเงินเข้มซึ่งเกิดจากการสะท้อนแสงของน้ า ยางพารา (A302)
                       มีสีส้มสด และพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง (U201, U301 และ U501) ปรากฏเป็นสีขาวเป็นต้น (ภาพที่ 19) การ
                       จ าแนกการใช้ที่ดินโดยพิจารณาจากขนาด และ รูปร่าง เช่น นาข้าว (A101) สามารถจ าแนกโดยลักษณะ
                       แปลงที่มีคันนา เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ปลูกมันส าปะหลังหรืออ้อยจะเป็นแปลงปลูกที่เป็นพื้นที่ราบ ถนน

                       (U405) มีลักษณะซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง ยาว และแคบ ขณะที่แม่น้ ามีลักษณะเป็นแนวยาว
                       และแคบ แต่มีความคดเคี้ยวมากกว่าถนน เป็นต้น (ภาพที่ 20) การจ าแนกการใช้ที่ดินโดยพิจารณาจากเนื้อภาพ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46