Page 57 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          47


                        4.1.3 การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดิน (Soil Carbon Stock: SOC)

                            4.1.3 การสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดิน (Soil Organic Carbon Stock: SOC Stock)

                                  1) การกักเก็บอินทรีย์คาร์บอนในดิน ปี 2552 และปี 2564
                                  จากการศึกษาปริมาณอินทรีย์คาร์บอนที่สะสมในดินที่ระดับความลึก 0 – 30 เซนติเมตร ใน

                  พื้นที่จังหวัดนครนายก ในช่วงปี พ.ศ. 2552 และปี พ.ศ. 2564  โดยรวบรวมข้อมูลผลการวิเคราะห์ปริมาณ
                  อินทรีย์คาร์บอนในดินจากโครงการต่างๆ ในปี พ.ศ. 2552 และดำเนินการสำรวจเก็บตัวอย่างดินและวิเคราะห์
                  ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนปี พ.ศ. 2564 ทำการประเมินและจัดทำแผนที่ปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดิน
                  (SOC stock) ในพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่เขตป่าอนุรักษ์  ผลการประเมินในพื้นที่เกษตรกรรมสามารถแบ่ง

                  ระดับการสะสมออกเป็น 6 ชั้น ประกอบด้วย ระดับต่ำมาก (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) ต่ำ (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) ปาน
                  กลาง (5-8 ตันต่อไร่ต่อปี) ค่อนข้างสูง (8-12 ตันต่อไร่ต่อปี) สูง (12-16 ตันต่อไร่ต่อปี) และสูงมาก (>16 ตันต่อ
                  ไร่ต่อปี) สำหรับพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติไม่มีข้อมูลปริมาณการสะสมอินทรีย์ในดินมีเนื้อที่ 357,747  ไร่ คิดเป็น

                  ร้อยละ 26.97 ของเนื้อที่จังหวัด
                                  จากผลการศึกษาปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดินในปี พ.ศ. 2552  พบว่า ปริมาณ
                  การสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดินพื้นที่จังหวัดนครนายก ส่วนใหญ่มีปริมาณการสะสมในระดับสูง (12-16 ตันต่อ
                  ไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 325,538 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 24.55 ของเนื้อที่จังหวัด 50 ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่พบ
                  กระจายครอบคลุมอำเภอองครักษ์ และมีบางส่วนกระจายอยู่ตอนล่างของอำเภอเมือง อำเภอปากพลี และ

                  อำเภอบ้านนา ปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนรองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง (5-8 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่
                  ประมาณ 188,411 ไร่ (ร้อยละ 14.20ระดับสูงมาก (>16 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 183,553 ไร่ (ร้อยละ
                  13.84) ระดับค่อนข้างสูง (8-12 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 145,443 ไร่ (ร้อยละ 10.97) และระดับต่ำ

                  (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 125,206 ไร่ (ร้อยละ 9.44) ตามลำดับ พบกระจายในพื้นที่อำเภอบ้านนา
                  อำเภอเมือง และอำเภอปากพลี สำหรับพื้นที่มีปริมาณการสะสมระดับต่ำมาก (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ 352
                  ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.03 ของเนื้อที่จังหวัด (ภาพที่ 14)
                                  สำหรับปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดินในปี พ.ศ. 2564  พบว่า ปริมาณการสะสม

                  อินทรีย์คาร์บอนในดินส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 12-16 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่ประมาณ 285,069 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ
                  21.50 ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่พบกระจายครอบคลุมอำเภอองครักษ์ และมีบางส่วนกระจายอยู่ตอนล่างของอำเภอ
                  เมือง อำเภอปากพลี และอำเภอบ้านนา ปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนรองลงมาอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (8-
                  12 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 225,973 ไร่ (ร้อยละ 17.04) ระดับปานกลาง (5-8 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่

                  ประมาณ 210,880 ไร่ (ร้อยละ 16.90) ระดับสูงมาก (>16 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 179,981 ไร่ (ร้อยละ
                  13.57) และระดับต่ำ (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 65,669 ไร่ (ร้อยละ 4.95) ตามลำดับ สำหรับพื้นที่มี
                  ปริมาณการสะสมระดับต่ำมาก (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ 931 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่จังหวัด
                  (ภาพที่ 15)
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62