Page 16 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                         8

                                     1) สัมพันธ์กับการเข้าร่วมโครงการนำร่อง LDN จะช่วยพัฒนาศักยภาพในการ

                       วิเคราะห์และประเมินข้อมูลความเสื่อมโทรมของประเทศ โดยจะประเมินข้อมูลจากฐานข้อมูลใน
                       ระดับโลกมาสู่ระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการดำเนินงานในระดับประเทศเพื่อนำปัจจัยอื่น

                       ๆ นอกเหนือจากฐานข้อมูลในระดับโลก มาช่วยในการประเมินการกำหนดเป้าหมาย LDN เพื่อให้มี

                       ความละเอียด และถูกต้องมากขึ้น ทั้งนี้ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2564)  มีประเทศที่เข้าร่วมในโครงการ LDN

                       Target Setting จำนวน 127 ประทศ (United Nations Convention to Combat Desertification,
                       2021a)

                                     2) สัมพันธ์กับการจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติอนุสัญญา UNCCD โดยอนุสัญญาฯ

                       กำหนดให้ ประเทศภาคีสมาชิกนำเป้าหมาย LDN ตัวชี้วัด และกิจกรรมในการจัดการที่ดินมาผนวกใน

                       แผนปฏิบัติการแห่งชาติของอนุสัญญา UNCCD
                                 ซึ่งในการจัดทำเป้าหมาย LDN จะต้องใช้ตัวชี้วัด 3 ประเภท ประกอบด้วย

                                     (1) สิ่งปกคลุมที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน (land cover and land use

                       change: LUC)
                                     (2) ผลิตภาพของที่ดิน (land productivity: LP) ซึ่งในระดับโลกกำหนดให้ใช้ NDVI

                       เป็นเครื่องมือในการวัดผลิตภาพการผลิตของที่ดิน โดยจัดชั้น (classes) ให้ทราบว่าพื้นที่ใดมีความ

                       เปลี่ยนแปลงผลิตภาพการผลิตที่ลดลง หรือมีความเสี่ยงต่อผลิตภาพการผลิต ไม่เปลี่ยนแปลง หรือ
                       เพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ที่จัดอยู่ในช่วงที่มีผลิตภาพการผลิตลดลง มีความเสี่ยงต่อปัญหาความเสื่อมโทรมของ

                       ที่ดิน

                                      (3) การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดิน (Soil Organic Carbon Stocks: SOC

                       Stock)
                                     ตัวชี้วัดทั้ง 3 ประเภท แบ่งระดับการได้มาซึ่งฐานข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ คือ

                                     Tier 1 = ระดับ Global scale (Default method) การได้มาซึ่งข้อมูลได้จากการ
                           ใช้แบบจำลอง หรือจากการสำรวจระยะไกลในระดับหยาบ
                                     Tier 2 = ระดับประเทศ การได้มาซึ่งข้อมูลเป็นข้อมูลจากสถิติระดับประเทศ หรือ

                           ระดับลุ่มน้ำ
                                     Tier 3 = ระดับละเอียด การได้มาซึ่งฐานข้อมูลได้จากการสำรวจภาคสนาม
                              ในขั้นแรกประเทศที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับข้อมูลตัวชี้วัดทั้ง 3 ประเภท ซึ่งเป็นข้อมูลใน

                       ระดับโลก หรือ Global Scale (Tier1) เป็นข้อมูลจากปี ค.ศ. 2015 ย้อนหลังไป 10-15 ปี เพื่อใช้เป็น

                       ข้อมูลฐาน (baseline) ในการจัดทำเป้าหมาย LDN อย่างไรก็ตามหากประเทศใดมีข้อมูลที่มีความ

                       ละเอียดกว่าข้อมูลในระดับ Global Scale ก็สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวิเคราะห์จัดทำ
                       เป้าหมาย LDN ได้ ซึ่งจะได้เป็นจำนวนพื้นที่ความเสื่อมโทรมของที่ดินในระดับประเทศ ต่อไปจะทำ

                       การประเมินความรุนแรงของปัญหา หาสาเหตุของปัญหา และนำมาสู่มาตรการในการแก้ไขปัญหา

                       ความเสื่อมโทรมของที่ดิน โดยเป้าหมาย LDN จะใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับตัวชี้วัดที่ 15.3 ตามเป้าหมาย
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21