Page 12 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                         4

                       สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน จำนวน 238 ตัวอย่าง กลุ่มวิเคราะห์ดิน
                       สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต1 จำนวน 173 ตัวอย่าง และจากข้อมูลงานวิจัย (นางสาวนัทฐา ทักษ์รัตน

                       ศรัณย์) จำนวน 28 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 469 ตัวอย่าง โดยสมบัติดิน ประกอบไปด้วย อินทรียวัตถุ
                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ปฏิกิริยาดิน (pH) และความหนาแน่นรวม
                       ของดิน โดยวิธีวิเคราะห์ดังนี้
                                        - อินทรียวัตถุในดิน (Soil Organic matter content) โดยวิธี Walkley and

                       Black titration (Walkley and Black, 1934; Walkley, 1935; Nelson and Sommers, 1996)
                                         - ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus) โดยวิธี Bray II (Bray
                       and Kurzt, 1945) แล้ววัดปริมาณฟอสฟอรัสด้วยเครื่อง spectrophotometer
                                       - โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (available potassium) โดยวิธีการสกัดด้วย

                       สารละลาย 1M NH4OAc ที่เป็นกลาง (pH 7) (Pratt, 1965) แล้ววัดปริมาณโพแทสเซียมด้วยเครื่อง
                       Atomic Absorption Spectrophotometer
                                        - ปฏิกิริยาดิน (pH) อัตราส่วนดินต่อน้ำ 1:1 และดินต่อสารละลาย 1M KCl 1:1
                       โดยใช้เครื่องมือวัดปฏิกิริยาดิน (pH meter) (National Soil Survey Center, 1996)

                                        - ความหนาแน่นรวมของดิน (bulk density) ด้วยวิธี Core method (Blake
                       and Hartge, 1986)


                                     (4) ข้อมูลการผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ (Net Primary Productivity: NPP) จาก
                       ภาพถ่ายดาวเทียม Terra MODIS ชุดข้อมูล MOD17A3 ความละเอียด 1 กิโลเมตร บันทึกข้อมูลทุก
                       1 ปี ในช่วงปี 2551 และ ปี 2564

                                  2) วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย
                                     (1) วิเคราะห์ตัวอย่างดิน จำนวน 1,000 ตัวอย่าง ที่เก็บตัวอย่างดินจากกลุ่มประเภท

                       การใช้ที่ดิน 6 ประเภท ค่าวิเคราะห์ดิน ประกอบด้วย
                                      (2) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของจังหวัดนครนายก ปี พ.ศ. 2551 โดย
                       เปรียบเทียบกับปีพ.ศ. 2564 และจัดทำแผนที่การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินปี พ.ศ. 2551 และปี พ.ศ.

                       2564 เพื่อประเมินตัวชี้วัดการใช้ที่ดิน หรือสิ่งปกคลุมดิน (LUC baseline) โดยวิเคราะห์ตามหลักการ
                       One-out, All-out ของ LDN
                                      (3) วิเคราะห์ตัวชี้วัดความสามารถในการให้ผลผลิตของที่ดิน ประเมินจากการผลิต
                       ขั้นปฐมภูมิสุทธิ (Net Primary Productivity : NPP) โดยใช้วิธีการประเมินจากค่าดัชนีพรรณ (NDVI)

                       ของจังหวัดนครนายกในช่วงปี พ.ศ. 2551 - 2564 จากภาพถ่ายดาวเทียม Terra MODIS ชุดข้อมูล
                       MOD17A3 ความละเอียด 1 กิโลเมตร บันทึกข้อมูลทุก 1 ปี ทำการวิเคราะห์ค่า NPP จากภาพถ่าย
                       ดาวเทียม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ต่ำ ปานกลาง และสูง จากนั้นวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง
                       ความสามารถในการให้ผลผลิตของที่ดินของจังหวัดนครนายกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 - 2564 และจัดทำ

                       แผนที่การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการให้ผลผลิตของที่ดินปี พ.ศ. 2551 และปี พ.ศ. 2564 (NPP
                       baseline) โดยวิเคราะห์ตามหลักการ One-out, All-out ของ LDN
                                      (4) วิเคราะห์ตัวชี้วัดปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน การเปลี่ยนแปลงปริมาณ
                       คาร์บอนอินทรีย์ในดินของจังหวัดนครนายกในปี พ.ศ. 2552 และปี พ.ศ. 2564 โดยประเมินจาก

                       ฐานข้อมูลคุณสมบัติของดินจากโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 ตัวอย่างดิน ปี พ.ศ. 2552 จำนวน 2,596
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17