Page 11 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                         3

                               1.3.2 แนวทางการศึกษา เป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
                       อาทิ ชลประทาน ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ, เส้นชั้นความสูง การใช้ประโยชน์ที่ดิน ธรณีวิทยา

                       ฐานข้อมูลทรัพยากรดินจากกรมพัฒนาที่ดิน และศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ การคัดเลือกพื้นที่ที่จะ
                       ดำเนินการในเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่  การเก็บตัวอย่างดิน และออกแบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์เกษตรกร
                       ด้านการจัดการและผลผลิต เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงผลิต
                       ภาพของที่ดิน การเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ที่สะสมในดิน ด้วยการวิเคราะห์โดยโปรแกรม

                       ภูมิสารสนเทศและโปรแกรมทางด้านสถิติ การแปลผล  การจัดทำรายงาน และสรุปจัดทำเป็นคู่มือ
                       แนวทางในการดำเนินการการจัดการด้านความสมดุลของการใช้ที่ดินในระดับพื้นที่

                       1.4 ขั้นตอนการดำเนินงาน

                              ในการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land
                       Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการการจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ มีดังนี้
                              1.4.1 ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และแนวทางการจัดทำ LDN ในระดับโลกและระดับประเทศ

                       เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการจัดทำเป้าหมาย และศึกษาแนวทางการประเมินความ
                       เสื่อมโทรมของที่ดินในพื้นที่เป้าหมาย และกำหนดตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน
                       เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่
                              1.4.2 วิเคราะห์หน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) เพื่อกำหนดบทบาท และ

                       หน้าที่ในการบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการในระดับนโยบายและระดับพื้นที่
                              1.4.3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำแนวทางการดำเนินงานของโครงการ ต่อหน่วยงานและ
                       นักวิชาการที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ประโยชน์ที่ดิน และความเสื่อมโทรมของดินและที่ดิน รวมถึง

                       การรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุงและจัดทำแนวทางการดำเนินงานแบบมีส่วน
                       ร่วมของทั้งหน่วยงานและผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
                              1.4.4 ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของดิน (LDN) ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                       ปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดิน และผลิตภาพของที่ดิน จะนำมาใช้เป็นตัวชี้วัด เพื่อประเมิน
                       ความเสื่อมโทรมของที่ดินในพื้นที่จังหวัดนครนายก โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย

                       ข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เก็บในภาคสนาม และข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล
                       (remote sensing data) โดยใช้เทคนิคการประมวลผลข้อมูลทางด้านระบบสาระสนเทศภูมิศาสตร์
                       (GIS) เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเสื่อมโทรมของที่ดินในพื้นที่เป้าหมาย ตามแนวทางของ UNCCD

                       และความเสื่อมโทรมของดิน (LDN) ซึ่งประกอบด้วยวิธีการดังนี้
                                  1) รวบรวมฐานข้อมูล และแผนที่ นำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                       ประกอบด้วย
                                     (1) รายงานการสำรวจดินเพื่อการเกษตร และแผนที่กลุ่มชุดดิน ชุดดิน มาตราส่วน

                       1: 25,000 จังหวัดนครนายก ปี 2558
                                     (2) รายงานและข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน จังหวัดนครนายก มาตราส่วน 1 :
                       25,000 สำรวจในปี 2551 และ ปี 2564
                                     (3) ข้อมูลคุณสมบัติของดิน จากโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 ตัวอย่างดิน ปี 2552

                       ครอบคลุมทุกตำบลในพื้นที่จังหวัดนครนายก จำนวน 2,596 จุด (กองสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน)
                       รวบรวมข้อมูลสมบัติดินในปี 2563-2565 ในพื้นที่จังหวัดนครนายก แหล่งรวบรวมข้อมูลได้มาจาก
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16