Page 51 - การประเมินผลการจัดงานวันดินโลก ปี 2565 "Soils, Where food begins : อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน"
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                       39




                   6. ข้อเสนอแนะของผู้ประเมินผล

                          6.1 นิทรรศการบางจุดยังตกแต่งไม่เรียบร้อย ทำให้ยังไม่พร้อมให้ผู้เข้าร่วมงานเข้าเยี่ยมชม

                   นิทรรศการ จึงควรมีการวางแผนและปรับการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นิทรรศการแล้วเสร็จทันเวลา
                          6.2 ควรเพิ่มข้อมูลของงาน และแผนผังนิทรรศการต่าง ๆ ในบริเวณการจัดงาน เพื่อให้ผู้เข้าชมงาน
                   ได้รับทราบ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าชมงาน
                          6.3 จุดจอดรถและสุขาเคลื่อนที่ควรอยู่ในจุดที่สะดวกหรือไม่ไกลจากจุดนิทรรศการมากเกินไป

                   เพื่อความสะดวกของผู้เข้าร่วมงาน
                          6.4 ประเด็นด้านการประชาสัมพันธ์ ผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่รับทราบกำหนดการจัดงานจาก
                   เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งสะท้อนได้ว่าการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ถึงวันดินโลก และการจัดงาน
                   วันดินโลกในช่องทางอื่น ๆ ยังไม่ครอบคลุมหรือทั่วถึง เห็นควรให้มีการประชาสัมพันธ์ในช่องทางอื่น ๆ

                   เช่น สื่อออนไลน์ ป้ายโฆษณา เป็นต้น เพื่อให้เข้าถึงการรับรู้ของประชาชนก่อนการจัดงาน

                   7. สรุปผลการประเมิน

                           การประเมินผลการจัดงานวันดินโลก ปี 2565 สามารถสรุปได้ว่า การจัดงานในครั้งนี้บรรลุ
                   วัตถุประสงค์การจัดงาน โดยภายหลังจากเข้าร่วมงาน ผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่ มีความคิดเห็น
                   เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ได้น้อมรำลึกถึงในหลวง ร.9 ที่ทรงงานด้านการพัฒนาทรัพยากรดิน และ ร.10

                   ที่สืบสาน รักษา ต่อยอด ทำให้รู้จักและรับรู้ถึงความสำคัญของวันดินโลก ทำให้รับรู้และจดจำได้ว่า วันดินโลก
                   ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี และทำให้ตระหนักและรับรู้ถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน พร้อมทั้ง
                   อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาทรัพยากรดินให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน สามารถนำความรู้
                   ที่ได้รับไปปรับใช้ทำการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน และถ่ายทอด
                   ให้แก่ผู้ที่สนใจ รวมถึงนำไปพัฒนาแผนงาน/โครงการในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับระดับความพึงพอใจ

                   ภาพรวมของผู้ตอบแบบประเมินที่มีความเห็นว่า มีความพึงพอใจการจัดงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดย
                   เมื่อทำการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร ด้วย Chi-square และ One-way ANOVA
                   พบว่า ผู้เข้าร่วมงานที่มีอายุ สถานภาพ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นหลังเข้าร่วมงาน

                   วันดินโลก ความชื่นชอบนิทรรศการ/กิจกรรม การนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมชมงานไปใช้ประโยชน์
                   และความพึงพอใจต่อการจัดงานวันดินโลก ที่แตกต่างกัน ยกเว้นความพึงพอใจในด้านการประเมินผล
                   ซึ่งพบว่า ผู้เข้าร่วมงานที่มีสถานภาพแตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อการประเมินผลที่ไม่แตกต่างกัน
                   โดยผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

                          จากการประเมินการรับทราบข้อมูลการจัดงานวันดินโลก ปี 2565 พบว่า ผู้ตอบแบบประเมิน

                   ส่วนใหญ่ รับทราบกำหนดการจัดงานจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งสะท้อนได้ว่าการประชาสัมพันธ์
                   ให้ประชาชนรับรู้ถึงวันดินโลก และการจัดงานวันดินโลกในช่องทางอื่น ๆ ยังไม่ครอบคลุมหรือทั่วถึง
                   เห็นควรให้มีการประชาสัมพันธ์ในช่องทางอื่น ๆ เช่น สื่อออนไลน์ ป้ายโฆษณา เป็นต้น เพื่อให้เข้าถึงการรับรู้
                   ของประชาชนก่อนการจัดงาน นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบประเมินยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปรับปรุง

                   แก้ไข เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุงในการจัดงานครั้งต่อไปให้ดีมากยิ่งขึ้น ดังรายละเอียด
                   ข้อเสนอแนะของข้อ 5 - 6
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56