Page 50 - การประเมินผลการจัดงานวันดินโลก ปี 2565 "Soils, Where food begins : อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน"
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                       38




                   3. ผลการประเมินความพึงพอใจนิทรรศการมีชีวิต จุด Check in

                          การประเมินผลความพึงพอใจจากการเข้าชมนิทรรศการมีชีวิต ทำการประเมินผลในรูปแบบ

                   ออนไลน์ ผ่านการสแกน QR – Code และตอบแบบประเมินผลความพึงพอใจที่มีอยู่ 3 ระดับ คือ มาก
                   ปานกลาง และน้อย ซึ่งได้กำหนดจุด Check in เพื่อตอบแบบประเมิน จำนวน 5 จุด โดยผู้เข้าร่วมงาน
                   Check in และตอบแบบประเมินผลความพึงพอใจ จุดที่ 1 เทคโนโลยีการผลิตองุ่นและเสาวรสปลอดภัย
                   มากที่สุด รองลงมา จุดที่ 2 แปลงผักบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง จุดที่ 3 ข้าวสรรพสีปลอดภัย ด้วยนวัตกรรม

                   ที่ดิน จุดที่ 4 นวัตกรรมจุลินทรีย์สู่การผลิตอาหารปลอดภัย และจุดที่ 5 ฐานการปรุงดิน ตามลำดับ
                   สำหรับจุดที่ 5 ฐานการปรุงดิน มีผู้ร่วมเช็คอินน้อยที่สุด เนื่องจาก มีจุดดึงดูดความสนใจน้อย มีเพียง
                   การนำเสนอการปลูกผัก (แปลงผัก) เวที และที่นั่งพัก ไม่มีเนื้อหาทางวิชาการหรือองค์ความรู้ และวิทยากร
                   บรรยาย จากผลการประเมินพบว่า ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในทุกจุดอยู่ในระดับมาก


                   4. ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร
                          การทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยตัวแปรต้น ได้แก่ อายุ (ต่ำกว่า 30 ปี,

                   31-40 ปี, 41-50 ปี, 51-60 ปี และ 61 ปี ขึ้นไป) สถานภาพ (เกษตรกร หมอดินอาสา เจ้าหน้าที่
                   หน่วยงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป นักเรียน/นักศึกษา และสื่อมวลชน)
                   และการศึกษา (ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก) ส่วนตัวแปรตาม ได้แก่

                   ความคิดเห็นหลังเข้าร่วมงานวันดินโลก ความชื่นชอบนิทรรศการ/กิจกรรม การนำความรู้ที่ได้รับจากการ
                   เข้าร่วมชมงานไปใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจต่อการจัดงานวันดินโลก ซึ่งทำการทดสอบด้วย
                   Chi-square และ One-way ANOVA จากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้เข้าร่วมงานที่มีอายุ
                   สถานภาพ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นหลังเข้าร่วมงานวันดินโลก ความชื่นชอบ
                   นิทรรศการ/กิจกรรม การนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมชมงานไปใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจ

                   ต่อการจัดงานวันดินโลก ที่แตกต่างกัน ยกเว้นความพึงพอใจในด้านการประเมินผล ซึ่งพบว่า ผู้เข้าร่วมงาน
                   ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อการประเมินผลที่ไม่แตกต่างกัน โดยผู้เข้าร่วมงาน
                   ส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

                   5. ข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบประเมิน มีดังนี้

                          5.1 อยากให้มีการจัดงานทุกปี โดยหมุนเวียนไปในแต่ละจังหวัด

                          5.2 ควรเพิ่มที่จอดรถ เพิ่มจุดทิ้งขยะ และเพิ่มจุดบริการห้องสุขา
                          5.3 ควรเพิ่มจุดแสดงแผนผังการจัดงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าชมงาน
                          5.4 ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดงานวันดินโลกให้มากขึ้น
                          5.5 ควรมีการจัดระเบียบการเข้าชมงาน เพื่อรักษาระยะห่างตามมาตรการเว้นระยะห่าง

                   ทางสังคม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19
                          5.6 ควรมีการควบคุมราคาสินค้า และความสะอาดของร้านค้าภายในงาน ร้านค้าภายในงาน
                   ควรมีอาหารฮาลาล เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ ประชาชน ที่เป็นชาวมุสลิม
                          5.7 อยากให้เพิ่มระยะเวลาในการจัดงาน และกิจกรรมภายในงานให้มากขึ้น
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55