Page 33 - การประเมินผลการจัดงานวันดินโลก ปี 2565 "Soils, Where food begins : อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน"
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       22





                   ลาดชันในแปลงการจำแนกพันธุ์หญ้าแฝก สำหรับแปลงสตรอว์เบอร์รี และกะหล่ำปลี หากมีผลผลิต เช่น

                   ดอก หรือผลจะทำให้ผู้เข้าร่วมงานให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น

                              3.2.5 จุดที่ 5 แปลงอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามพระราชดำริ มันพื้นเมือง และฐานการปรุงดิน
                                    จากการสังเกตการณ์ภาพรวมของนิทรรศการ พบว่า ผู้เข้าร่วมงานให้ความสนใจ
                   เข้าชมแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามพระราชดำริมันพื้นเมือง ซึ่งมีการจัดทำแปลงมันพื้นเมือง
                   และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการรวบรวมมันพันธุ์พื้นเมือง สายพันธุ์ต่าง ๆ ของภาคเหนือ และฐาน

                   การปรุงดิน ซึ่งมีการสาธิตการปรุงดิน การปลูกผักบนโต๊ะที่ใช้วัสดุปลูกที่ผ่านการปรุงดิน แบบบ่มดิน
                   มีการฝึกอบรมการปรุงดิน แบบบ่มดินสำหรับปลูกพืชในภาชนะ และบ่มดินสำหรับปลูกพืชบนแปลง

                              3.2.6 จุดที่ 6 นิทรรศการนวัตกรรมการเกษตร และฐานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
                   “ดิน น้ำ ป่า คน อาหาร”

                                    จากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการที่เป็นเกษตรกร ส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลัง
                   มีความสนใจในเรื่องดิน เทคโนโลยีในการควบคุมศัตรูพืช และพันธุ์มันสำปะหลังที่ให้ผลผลิตสูง สำหรับ
                   ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมชมนิทรรศการส่วนใหญ่มารับข้อมูลด้านดิน การจัดการดิน ยังไม่สนใจนวัตกรรม
                   เพราะไม่ได้ทำการเกษตร แต่มีการปลูกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวเล็กน้อย ในส่วนของผู้แทนครูที่พา
                   นักเรียนเข้าร่วมชมงาน มีความคิดเห็นว่านิทรรศการมีชีวิตในส่วนของฐานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

                   มีประโยชน์กับนักเรียนมาก นักเรียนได้สังเกตและเรียนรู้จากวัสดุจริงที่นำมาแสดง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                   กับวิทยากร โดยเมื่อเปรียบเทียบนิทรรศการหลักกับนิทรรศการมีชีวิต นักเรียนให้ความสนใจนิทรรศการ
                   มีชีวิตมากกว่า นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้มาศึกษาแนวทาง หรือข้อมูลวิชาการสำหรับทำโครงการเศรษฐกิจ

                   พอเพียงในโรงเรียนอีกด้วย และมีผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านสะท้อนว่า ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการนวัตกรรม
                   การเกษตรส่วนใหญ่เดินมาชมงานเอง โดยไม่มีมัคคุเทศก์พามา จึงทำให้จำนวนผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการ
                   ในจุดนี้ค่อนข้างน้อย

                   4. ผลการประเมินความพึงพอใจนิทรรศการมีชีวิต จุด Check in

                          การประเมินผลความพึงพอใจจากการเข้าชมนิทรรศการมีชีวิต ทำการประเมินผลในรูปแบบ
                   ออนไลน์ ผ่านการสแกน QR – Code และตอบแบบประเมินความพึงพอใจซึ่งมี 3 ระดับ คือ มาก

                   ปานกลาง และน้อย โดยได้กำหนดจุด Check in เพื่อตอบแบบประเมิน จำนวน 5 จุด ประกอบด้วย
                   จุดที่ 1 เทคโนโลยีการผลิตองุ่นและเสาวรสปลอดภัย จุดที่ 2 แปลงผักบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง จุดที่ 3
                   ข้าวสรรพสีปลอดภัย ด้วยนวัตกรรมที่ดิน จุดที่ 4 นวัตกรรมจุลินทรีย์สู่การผลิตอาหารปลอดภัย และจุดที่ 5
                   ฐานการปรุงดิน โดยมีผลการประเมินดังนี้

                          4.1 นิทรรศการเทคโนโลยีการผลิตองุ่นและเสาวรสปลอดภัย มีผู้ร่วม Check in และตอบ

                   แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 1,070 ราย โดยผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
                   ( X = 2.95 , S.D. = 0.25) (ตารางที่ 11)
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38