Page 18 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                              13






                                  ทั้งนี้ ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับ

                     ความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกพืช
                     ตรงตามศักยภาพของดิน มีความเสี่ยงต่ำ ผลผลิตดี จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว
                                  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ที่ควร

                     พิจารณาให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าว คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกยางพารา (S3) 233,929 ไร่ และพื้นที่ปลูก
                     มังคุด (N) 15,633 ไร่ (ตารางที่ 6)

                     ตารางที่ 6  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตข้าว

                                                 ยางพารา                              มังคุด
                          อำเภอ
                                          S3            N      รวม           S3            N         รวม
                     ควนขนุน           57,921         -       57,921         -         2,870      2,870
                     เมืองพัทลุง       32,487         -       32,487         -         4,185      4,185

                     ป่าบอน            20,604         -       20,604         -         1,377      1,377
                     เขาชัยสน          48,154         -       48,154         -           921        921
                     ป่าพะยอม           9,342         -         9,342        -         1,486      1,486
                     ปากพะยูน          21,305         -       21,305         -           775        775

                     กงหรา              6,811         -         6,811        -           712        712
                     ศรีบรรพต           1,465         -         1,465        -            40         40
                     ตะโหมด             5,413         -         5,413        -           554        554
                     ศรีนครินทร์        8,354         -         8,354        -           624        624
                     บางแก้ว           22,073         -       22,073         -         2,089      2,089
                           รวม        233,929         -      233,929         -        15,633     15,633


                           4) แนวทางการจัดการ

                             (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุน
                     ให้เกษตรกรปลูกข้าวต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิต
                     ที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้
                     เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น

                               พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ทำนาในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัด
                     ทางกายภาพต่อการทำนา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง โดยพื้นที่มีความ
                     เหมาะสมสูงต่อการปลูกข้าวซึ่งควรสงวนไว้ อยู่ในพื้นที่อำเภอควนขนุน อำเภอปากพะยูน และอำเภอเมืองพัทลุง
                               พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือทำนาในที่ดินที่มีข้อจำกัด

                     ทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้นในดิน
                     เป็นต้น ควรมีการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน โดยพื้นที่มีความเหมาะสมปานกลางต่อการปลูกข้าว
                     ซึ่งควรสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวต่อไป และปรับปรุงบำรุงดินเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดที่มีเพียงเล็กน้อย
                     อยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน และอำเภอป่าบอน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23