Page 38 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตรัง
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
35
ชุดดิน ควนกาหลง Series Kkl กลุ่มชุดดินที่ 34
สภาพพื นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-20 %
ภูมิสัณฐาน ลานตะพัก เชิงเขา เนินเขา หรือบริเวณพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน
วัตถุต้นก าเนิดดิน การผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของ
หินแกรนิต
การระบายน า ดี
การซึมผ่านได้ของน า ปานกลางถึงเร็ว การไหลบ่าของน าบนผิวดิน ปานกลาง
ลักษณะสมบัติของดิน ดินร่วนละเอียดลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ าตาล ปฏิกิริยาดิน
เป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปน
ทรายขนาดปานกลางหรือหยาบ มีสีน้ าตาล และระหว่างความลึก 50-100 เซนติเมตร
มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหยาบถึงหยาบมาก มีสีน้ าตาล สีน้ าตาลปนเหลือง
หรือสีเหลืองปนน้ าตาลปะปนกับสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึง
เป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) ชั้นดินล่างภายในความลึก 150 เซนติเมตร เนื้อดินหยาบ
เพิ่มขึ้น (ชั้นของหินแกรนิตผุ)
ข้อจ ากัด ความอุดมสมบูรณ์ต่ า เนื้อดินเป็นดินปนทราย และสภาพพื้นที่มีความลาดชัน
หน้าดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย และขาดแคลนน้ า
ข้อเสนอแนะ เหมาะสมดีส าหรับการปลูกพืชไร่ ไม้ยืนต้นและไม้ผล มีข้อจ ากัดเล็กน้อยที่มีความ
อุดมสมบูรณ์ต่ า ควรมีการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดหรือปรับปรุงหลุมปลูกด้วย
ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ า พด.2 มีระบบอนุรักษ์ดิน
และน้ า เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ท าแนวรั้วหญ้าแฝกหรือท าฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น
พัฒนาแหล่งน้ าและระบบการให้น้ าในแปลงปลูก ไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ า
สมบัติทางเคมี ความลึก อินทรีย ความจุ ความอิ่ม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ความอุดม
วัตถุ แลกเปลี่ยน ตัวเบส ที่เป็น ที่เป็น สมบูรณ์
(เซนติเมตร)
แคตไอออน ประโยชน์ ประโยชน์ ของดิน
0-25 ปานกลาง ต่ า ต่ า ต่ า ต่ า ต่ า
25-50 ต่ า ต่ า ต่ า ต่ า ต่ า ต่ า
50-100 ต่ า ต่ า ต่ า ต่ า ต่ า ต่ า
ภาพที่ 1 หน้าตัดดินและค าบรรยายชุดดินควนกาหลง