Page 12 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
ตารางที่ 2 พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พืชเศรษฐกิจ เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละของพื้นที่เกษตรกรรม
1. ยางพารา 2,642,279 63.23
2. ปาล์มน้ำมัน 1,212,305 29.94
3. มะพร้าว 134,485 3.21
4. ทุเรียน 60,282 1.44
ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564
2.1 ยางพารา
ยางพาราพืชเศรษฐกิจหลักของสุราษฎร์ธานีในลำดับที่ 1 จากฐานข้อมูลในแผนที่
เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 6 - 7)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 1,644,464 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.38
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเคียนซา 202,453 ไร่ อำเภอพุนพิน 188,381 ไร่
และอำเภอพระแสง 188,015 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 2,286,525 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
43.63 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอกาญจนดิษฐ์ 205,843 ไร่ อำเภอท่าฉาง
202,722 ไร่ และอำเภอพุนพิน 198,448 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 282,968 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.40
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอท่าชนะ 52,830 ไร่ อำเภอพระแสง 21,534 ไร่
และอำเภอเวียงสระ 20,977 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,026,368 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 968,065 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 36.64 ของพื้นที่
เหมาะสมสูง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเคียนซา 142,256 ไร่ อำเภอพุนพิน 125,947 ไร่ และ
อำเภอคีรีรัฐนิคม 102,362 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,345,406 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.92
ของพื้นที่เหมาะสมปานกลาง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอพุนพิน 136,933 ไร่ อำเภอท่าฉาง 135,697 ไร่
และอำเภอกาญจนดิษฐ์ 132,600 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 166,187 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.29 ของพื้นที่
เหมาะสมเล็กน้อย กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอท่าชนะ 34,105 ไร่ อำเภอท่าฉาง 15,547 ไร่
และอำเภอพุนพิน 15,064 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 162,621 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก
พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกยางพารา และพื้นที่ปลูกยางพาราในชั้น