Page 17 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               10







                       ตารางที่ 4  (ต่อ)

                                                ปาล์มน้ำมัน (ไร่)                   มะพร้าว (ไร่)
                            อำเภอ
                                           S3        N        รวม            S3         N        รวม
                       บ้านนาสาร            713      -          713            37      -             37
                       เกาะพะงัน              -      -             -        2,599      -          2,599
                       กาญจนดิษฐ์        35,572      -       35,572            97     40           137
                       บ้านนาเดิม           421      -          421             -      -              -
                       คีรีรัฐนิคม        2,564      -         2,564           19      -             19
                       เมืองสุราษฎร์ธานี   10,281    -       10,281             -     10             10
                             รวม        123,872      -      123,874        13,067     85         13,152

                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี

                       คุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ
                       ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกยางพาราในที่ดิน

                       ที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญ
                       ของจังหวัด กระจายอยู่อำเภอเคียนซา อำเภอพุนพิน และอำเภอคีรีรัฐนิคม เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
                       ยางพาราในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์
                       ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น กระจายอยู่ในอำเภอพุนพิน อำเภอท่าฉาง และอำเภอกาญจนดิษฐ์

                       เป็นต้น
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) กระจายอยู่ใน
                       อำเภอท่าชนะ อำเภอท่าฉาง และอำเภอพุนพิน เป็นต้น ควรสนับสนุนให้เข้าโครงการบริหารจัดการ

                       พื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกยางพารามีต้นทุนที่ต่ำ และ
                       ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
                           2.2  ปาล์มน้ำมัน
                                    ปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสุราษฎร์ธานีในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลใน

                       แผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)
                                   1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
                                     ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) เนื้อที่ 823,723 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 14.67
                       ของพื้นที่ศักยภาพที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอพระแสง 135,917 ไร่ อำเภอเคียนซา 113,054 ไร่

                       และอำเภอเวียงสระ 104,137 ไร่
                                     ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) เนื้อที่ 2,613,342 ไร่ คิดเป็น
                       ร้อยละ 46.54 ของพื้นที่ศักยภาพที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเคียนซา 255,004 ไร่ อำเภอ
                       ท่าฉาง 251,149 ไร่ และอำเภอพุนพิน 248,634 ไร่
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22