Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
(3) พัฒนาจากหินอัคนีชนิดหินแกรนิต ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก
เนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง ถึงแดง การระบายน้ำดี
เช่น ชุดดินคลองนกกระทุง (Knk) ชุดดินทุ่งหว้า (Tg) เป็นต้น
5) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ทรัพยากรดิน
มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่
ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพที่ 1 - 5
1.5 สภาพการใช้ที่ดิน
สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน
ของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เนื้อที่
ประเภทการใช้ที่ดิน
ไร่ ร้อยละ
พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 250,489 3.11
พื้นที่เกษตรกรรม 5,010,267 62.17
พื้นที่นา 28,960 0.36
พืชไร่ 1,590 0.01
ไม้ยืนต้น 4,583,106 56.88
ไม้ผล 306,148 3.80
พืชสวน 1,845 0.02
ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ 2,495 0.03
สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 85,070 1.06
เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม 1,053 0.01
พื้นที่ป่าไม้ 2,422,690 30.06
พื้นที่น้ำ 194,569 2.42
พื้นที่เบ็ดเตล็ด 179,153 2.24
รวม 8,057,168 100.00
ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน, 2561
1.6 พื้นที่ชลประทาน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ชลประทาน 119,655.09 ไร่ (ร้อยละ 1.48 ของพื้นที่จังหวัด)
กระจายอยู่ใน 7 อำเภอ มีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ 3 อ่าง มีศักยภาพในการเก็บกักน้ำได้ รวม 5,642.49
ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำรัชชประภา มีระดับกักเก็บอยู่ที่ 5,639
ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 99.94 ของน้ำเก็บกักของอ่างเก็บน้ำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ตารางผนวกที่ 2 และตารางผนวกที่ 3)