Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสิงห์บุรี
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                 24







                       เป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรด้านการตลาดในและต่างประเทศ
                       การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานการปฏิบัติ

                       ทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูก
                       พืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้

                       ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควร

                       ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีและเกษตรกรมีความต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่
                       เพื่อในอนาคตจะได้กลับมาทำนาได้อีก


                           4.2 อ้อยโรงงาน

                                   1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่

                       มีเนื้อที่ 382 ไร่ ซึ่งปลูกอยู่ใน 2 อำเภอเท่านั้น ได้แก่ อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบางระจัน ทั้งนี้ ตาม
                       แผนยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2560-2564 มียุทธศาสตร์ ส่งเสริม

                       สนับสนุนการวิจัย การบริหารจัดการ และการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตอุตสาหกรรม อ้อยน้ำตาลทราย

                       และอุตสาหกรรม เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตอ้อยโรงงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง แต่เน้นการลดต้นทุนผลผลิต
                       ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบคุณภาพสูง การเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยการรณรงค์ลดการเผาตอซัง

                       เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดปัญหาภาวะโลกร้อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดค้นเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวโดยใช้
                       เครื่องจักรเพื่อลดปัญหาแรงงาน ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มและเข้าร่วมระบบส่งเสริมการเกษตรแบบ

                       แปลงใหญ่ จัดหาปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร และอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีการปรับปรุงบำรุงดิน

                       โดยลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้มีการปลูกอ้อยโรงงานที่มีสายพันธุ์ต้านทานโรค สร้างความตระหนักและ
                       ความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ในการปลูกอ้อยโรงงาน เพื่อแก้ไขปัญหา


                       การปรับเปลี่ยนพื้นที่
                                2) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่

                       มีเนื้อที่ 1,313 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภออินทร์บุรี และอำเภอ
                       พรหมบุรี พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดิน และการบริหารจัดการน้ำ ให้มีเพียงพอ

                       และเหมาะสมต่อการเพาะปลูกสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแล

                       รักษา และการเก็บเกี่ยวส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของเสียจากโรงงานน้ำตาล และการนําของเสียจากโรงงาน
                       น้ำตาลไปใชในการปรับปรุงบำรุงดินในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนใหแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยโดยไม่มี

                       ผลเสียต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และชุมชนชาวไร่อ้อย
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36