Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสิงห์บุรี
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                 22







                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         สินค้าเกษตรที่หอการค้าจังหวัดสิงห์บุรีต้องการจะส่งเสริมในอนาคต ได้แก่ ข้าวและไม้ผล โดยจาก

                       ฐานข้อมูล Agri-Map Online พบว่า ยังมีพื้นที่ศักยภาพความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสม
                       ปานกลาง (S2) ในการปลูกข้าวคงเหลือตามตารางที่ 4 ข้างต้น จึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว

                       ให้เน้นการผลิตข้าวคุณภาพสูง หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น

                       หรือปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการผลิตข้าวนาปรัง และในส่วนของไม้ผลนั้นจากฐานข้อมูล
                       Agri-Map Online พบว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) ได้แก่ ลำไย โดยมีรายละเอียด ดังนี้


                         3.1 ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัด มีพื้นที่เพาะปลูกมากเป็นอันดับหนึ่งของพืชเศรษฐกิจ
                       ทั้งหมด แต่ด้วยคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตพิจารณาถึงเป้าหมายการ

                       ผลิตข้าว การวางแผนการปลูกข้าว และพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/2565 เห็นควร

                       ให้มีการแบ่งประเภทข้าวเพื่อให้การเพาะปลูกมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
                       ทั้งในส่วนของ Demand และ Supply โดยแบ่งเป็น 5 ชนิดข้าว ประกอบด้วย 1) ข้าวหอมมะลิ

                       2) ข้าวหอมไทย 3) ข้าวเจ้า ซึ่งจำแนกเป็นข้าวเจ้าพื้นนุ่มและข้าวเจ้าพื้นแข็ง 4) ข้าวเหนียว 5) ข้าวตลาด
                       เฉพาะ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวให้ตรงตามสายพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด อีก

                       ทั้งอาจส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตข้าวในพื้นที่ เช่น การปลูกข้าวตามสายพันธุ์ที่ตรงกับความ

                       ต้องการของตลาดแบบเกษตรอินทรีย์ โดยส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ การพัฒนา
                       บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวในพื้นที่เพื่อจัดจำหน่ายสู่ท้องตลาด หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปจาก

                       ข้าว เป็นต้น

                           3.2 ลำไย เป็นพืชที่เจริญเติบโตในดินแทบทุกชนิด แม้กระทั้งดินลูกรัง แต่ดินปลูกที่ให้ลำไยมีการ

                       เจริญเติบโตได้ดี คือ ดินร่วนปนทรายและดินตะกอน ดินปลูกลำไยควรมีค่าความเป็นกรดด่างของดิน (pH)
                       อยู่ในช่วง 5.0 - 7.0 มีหน้าดินลึกระบายน้ำดี ดังนั้นก่อนทำการปลูกลำไยควรศึกษาคุณสมบัติของดิน เช่น

                       โครงสร้างของดิน เนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการธาตุอาหาร

                       อย่างมีประสิทธิภาพ อุณหภูมิที่สามารถเจริญเติบโตได้อยู่ระหว่าง 4 - 30 องศาเซลเซียส และต้องการ
                       อุณหภูมิต่ำ 10-22 องศาเซลเซียส ต้องได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอและมีปริมาณน้ำฝนอยู่ในช่วงประมาณ

                       1,000 – 1,200 มิลลิเมตรต่อปี สายพันธุ์ลำไยที่แนะนำ คือ ลําไยพันธุ์กะโหลกหรือกลุ่มลําไยพันธุ์อีดอ

                       จากฐานข้อมูล Agri-Map Online พบว่า ลำไยมีพื้นที่ศักยภาพความเหมาะสมสูง (S1) จำนวน 6,725 ไร่
                       กระจายตัวอยู่ในพื้นที่อำเภอค่ายบางระจัน 3,405 ไร่ อำเภอพรหมบุรี 1,615 ไร่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี 801 ไร่

                       อำเภอบางระจัน 675 ไร่ อำเภออินทร์บุรี 224 ไร่ และอำเภอท่าช้าง 5 ไร่ และเนื่องจากลำไยเป็นพืช
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34