Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสิงห์บุรี
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                 23







                       ที่ใช้ระยะเวลานานกว่าเกษตรกรจะได้ผลผลิต จึงควรส่งเสริมให้เกษตรปลูกพืชอายุสั้นแซมระหว่างแถวด้วย
                       อีกทั้งควรอบรมให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยแบบลดต้นทุนการผลิต เช่น การใช้ระบบน้ำเพื่อการเกษตร

                       การเลือกสายพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคและแมลง การใส่ปุ๋ยให้ตรงตามความต้องการของพืช เป็นต้น
                         3.3 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green

                       Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่ง

                       ที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสาระสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564

                       โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้
                       เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดํารงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map Online

                       จังหวัดสิงห์บุรีมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน กระชายดำ

                       ไพล เป็นต้น

                              ขมิ้นชันเป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี

                       ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้
                       ระหว่างรอการเติบโตของไม้ผลหรือไม้ยืนต้นที่ปลูกเป็นพืชหลัก โดยพื้นที่จังหวัดจังหวัดสิงห์บุรี มีพื้นที่

                       ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) ประมาณ 6,725 ไร่ กระจายอยู่ใน

                       อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี

                              กระชายดำและไพล เจริญได้ดีในดินร่วนซุย ปลูกง่าย ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลง

                       พืชหลักได้ โดยพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกกระชายดำและไพล ที่ระดับความเหมาะสม
                       เล็กน้อย (S3) ประมาณ 6,725 ไร่ กระจายตัวอยู่ใน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี


                       4. แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                            4.1 ข้าว

                                พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งจังหวัดอยู่ในชั้นความ

                       เหมาะสูงเพียงชั้นเดียวเท่านั้น โดยมีเนื้อที่ 323,805 ไร่ อยู่ในทั้ง 6 เขตอำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่การปลูก
                       ข้าวมากที่สุด คือ อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี

                       และอำเภอท่าช้าง โดยอำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง ตั้งอยู่ในเขตชลประทาน ทั้งนี้โดย
                       คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าว

                       ที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่ม
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35