Page 17 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสมุทรสงคราม
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                               11






                       ภาครัฐ น าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์มหรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ
                       โดยสร้างหรือน านวัตกรรมและวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในการเกษตร ใช้เทคโนโลยีเกษตรที่มีความ
                       แม่นย าทั้งแปลงผลิตพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการ ควบคุมคุณภาพผลผลิตมะพร้าวให้

                       คงที่ และ สามารถวางแผนระบบการตลาดดีขึ้น
                             (2) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่

                       มีเนื้อที่ 47,066 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอเมืองสมุทรสงคราม อ าเภออัมพวา และบางคนที
                       มีแนวทางการส่งเสริม คือ พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ในรูปแบบแปลงใหญ่ สนับสนุนการปรับปรุง

                       บ ารุงดิน เพื่อพัฒนาศักยภาพของที่ดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกมะพร้าวมากยิ่งขึ้น สนับสนุน
                       มะพร้าวพันธุ์ดีที่ทนต่อโรคแมลง ให้ความรู้ในการก าจัดโรคแมลงศัตรูมะพร้าวที่เหมาะสม สนับสนุน

                       การจัดตั้งแหล่งรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในพื้นที่ และเชื่อมโยงการตลาด โดยมีตลาดรับซื้อผลผลิต
                       มะพร้าวส ารอง ที่สามารถรองรับผลผลิตทางการเกษตรในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด หรือเกินก าลังผลิต
                       ของโรงงานแปรรูปในพื้นที่ใกล้เคียง พัฒนาสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง และเป็น Smart Farmer

                       โดยน าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์มหรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ
                             (3) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันไม่พบว่าเกษตรกรใช้

                       พื้นที่ดังกล่าวในการเพาะปลูกมะพร้าว
                             (4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกมะพร้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกร

                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ในการปลูกมะพร้าว มีการปลูกพืชชนิดอื่น อาทิ ข้าว ในกรณีที่ปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่น
                       หรือมีการปลูกไม้ผลชนิดอื่น การปรับเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวมาปลูกมะพร้าวเป็นเรื่องยาก เนื่องจาก

                       มะพร้าวเป็นพืชที่ใช้เวลานานกว่าจะให้ผลผลิตที่คุ้มทุน แต่หากพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกข้าว ก็สามารถ
                       ปลูกมะพร้าวในลักษณะระบบปลูกพืชผสมกับพืชชนิดดังกล่าว หรือปลูกในลักษณะเกษตรผสมผสานได้

                         4.2  ข้าว

                             พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 602 ไร่ อยู่ใน
                       เขตอ าเภออัมพวาเพียงแห่งเดียว ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอ
                       แผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่ส าคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ า

                       ชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบ
                       วงจรด้านการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการท ามาตรฐาน

                       สินค้าเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ (GAP) เนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูก
                       พืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบ ารุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้

                       ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะน าว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควร
                       ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ใน

                       อนาคตจะได้กลับมาท านาได้อีก
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22