Page 14 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสมุทรสงคราม
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                8






                               พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี
                       ข้อจ ากัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่ส าคัญของจังหวัด พบใน
                       อ าเภออัมพวา

                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                              จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การท าเกษตรกรรม เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลที่ได้รับ

                       อิทธิพลของน้ าทะเล ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ดังนั้น ดินในบริเวณนี้จึงมีที่ก าเนิดมาจากการทับถมของ
                       ตะกอนน้ าทะเล และตะกอนแม่น้ า ซึ่งประกอบด้วยดินชุดต่างๆ ได้แก่ ดินชุดท่าจีน ดินชุด
                       สมุทรสงคราม ดินชุดธนบุรีและดินชุดด าเนินสะดวก สภาพของดินเป็นดินเหนียวปนทราย ดินมีสภาพ
                       เป็นกรดเล็กน้อยจนถึงเป็นด่างปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 7.0 – 8.5 มีความ

                       อุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูงเนื่องจากมีธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซี่ยมอยู่สูง แม่น้ าแม่กลองไหลผ่าน
                       ในตอนกลางมีน้ ากร่อยและน้ าเค็มบริเวณปากอ่าว  มีคลองธรรมชาติและคลองขุดเชื่อมต่อกันเป็น

                       โครงข่ายทั่วพื้นที่ หรือเรียกได้ว่าเป็นเมืองสามน้ า คือ น้ าเค็ม น้ ากร่อย และน้ าจืด รวมทั้งมีภูมิอากาศ
                       เป็นแบบฝนเมืองร้อนมีปริมาณฝนมากพอสมควร  ประกอบกับอยู่ใกล้ทะเลจึงมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
                       ในฤดูหนาวจึงไม่หนาวจัดและฤดูร้อนก็ไม่ร้อนจัด ท าให้ผลไม้ที่ปลูกในพื้นที่มีรสชาติดี พืชที่ได้รับความ

                       นิยมและมีชื่อเสียงของจังหวัด ได้แก่ “ลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม พริกบางช้าง
                       ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทย (Geographical Indications: GI)” และมะพร้าวตาล
                              ลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม หมายถึง ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม หรือ หอมล าเจียก เป็นลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตเร็ว
                       ภายใน 3 ปี ต้นไม่ค่อยสูง มีลักษณะเป็นพุ่ม มีผลรูปร่างกลม รูปไข่หรือรูปหัวใจ เมล็ดทรงยาว เปลือก
                       หนามตั้ง หนังตึง เนื้อเต่ง หนากรอบ เนื้อแห้ง ไม่แฉะ กลิ่นหอม ผิวสีขาวอมชมพูเรื่อๆมีรสชาติหวาน

                       จนถึงหวานอมฝาด  ลักษณะการปลูกลิ้นจี่ต้องท าคันดินรอบพื้นที่ปลูกเพื่อป้องกันน้ าทะเลและน้ าฝน
                       เข้าท่วมถึง โดยยกร่องการปลูกและมีร่องระบายน้ าระหว่างร่องปลูก การยกร่องควรอยู่ในลักษณะ
                       ขวางตะวันเพื่อให้ลิ้นจี่ได้รับแสงแดดสม่ าเสมอกัน พื้นที่ปลูกลิ้นจี่ของจังหวัดสมุทรสงคราม เน้นไปที่

                       อ าเภอบางคนทีและอ าเภออัมพวา เพราะเป็นพื้นที่น้ าจืดผสมกับน้ ากร่อย ดินจืด ดินไม่เปรี้ยว ไม่เค็ม
                       ส่วนอ าเภอเมืองสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่น้ ากร่อยมากและน้ าเค็มจัด ไม่เหมาะสมกับการปลูกลิ้นจี่ทุก
                       สายพันธุ์ จากข้อมูลส านักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2563 พบว่า มีพื้นที่ปลูกลิ้นจี่ประมาณ
                       5,202 ไร่ ในอ าเภอบางคนที 2,865 ไร่ อ าเภออัมพวา 2,329 ไร่ และอ าเภอเมืองสมุทรสงคราม 8 ไร่

                       ผลผลิตเฉลี่ย 193  กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” เป็นหนึ่งในผลไม้ที่มีชื่อเสียงดั่งราชินีผลไม้
                       ของจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับอนุมัติให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ขึ้นทะเบียนเป็น
                       สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม จะต้องปลูกใน
                       พื้นที่ต าบลบางขันแตก อ าเภอเมืองสมุทรสงคราม อ าเภออัมพวา และอ าเภอบางคนทีแหล่งพันธุ์ลิ้นจี่

                       ต้องมาจากสวนผลิตลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงครามเองหรือแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
                              ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม เป็นส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ มีผิวเรียบ ต่อมน้ ามันใหญ่เปลือกหนา
                       ผลค่อนข้างใหญ่ หนึ่งผลมี 12-14 กลีบ กุ้งใหญ่ เบียดกันแน่น มีเมล็ดเล็ก ส่วนใหญ่เมล็ดลีบ (ไม่มี
                       เมล็ด มีรสชาติที่อร่อยหวานถึงอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีน้ ามากแต่ไม่แฉะ เนื้อในมีสีขาวอมเหลือง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19