Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               24







                       4.3  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                             1) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N)  และปัจจุบัน
                       เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่  มีเนื้อที่ 420 ไร่ ทางภาครัฐควรให้การช่วยเหลือ

                       เกษตรกรที่ท ากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบ ารุงดิน สนับสนุนแหล่ง
                       น้ า ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิต

                       อาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning  by  Agri-
                       Map) เป็นต้น

                             2) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ปัจจุบัน
                       เกษตรกรปลูกข้าวซึ่งอยู่ในพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) ของการปลูกข้าว ซึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็น

                       พื้นที่ที่เกษตรกรมีความเชี่ยวชาญในการท านา และอาจจะไม่ประสงค์ที่จะเปลี่ยนชนิดพืชมาเป็นพืชไร่
                       ในทันที แต่อาจจะส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง เพื่อทดแทนการท านาปรังได้
                       ดังนั้นอาจส่งเสริมในเรื่องของการท าเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ท าการเกษตรแบบผสมผสาน แต่ทั้งนี้ต้อง

                       พิจารณาต้นทุนการผลิตและการตลาดร่วมด้วย
                       4.4  ปาล์มน้ ามัน

                             จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบพื้นที่ปลูกปาล์มน้ ามัน 227 ไร่ และอยู่บนพื้นที่ศักยภาพไม่
                       เหมาะสมทั้งหมด และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่มีพื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับ

                       การปลูกปาล์มน้ ามัน จึงไม่แนะน าให้มีการส่งเสริมการปลูกเพิ่ม เพราะจะประสบปัญหาราคาผลผลิต
                       ต่ ากว่าต้นทุน เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว ที่มีการระบายน้ าต่ า ท าให้ต้องมีการลงทุน

                       เพื่อปรับสภาพพื้นที่ก่อนปลูก ดังนั้นจึงไม่แนะน าให้เกษตรกรรายย่อยปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกปาล์ม
                       น้ ามัน นอกจากนี้ทางภาครัฐควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ท ากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
                       โครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบ ารุงดินสนับสนุนแหล่งน้ า ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความ

                       เหมาะสม และปาล์มน้ ามันเป็นพืชยืนต้นอายุประมาณ 20 - 25 ปี การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น
                       จึงเป็นเรื่องยากในกรณีที่ปาล์มน้ ามันหมดอายุ ลงทุนน้อยกว่าและให้ผลตอบแทนที่ดี ส่งเสริมสินค้า

                       เกษตรชนิดอื่น ๆ ที่สามารถปลูกหรืออยู่ร่วมกันได้ในสวนปาล์มน้ ามัน ตามความเหมาะสมในแต่ละ
                       พื้นที่ ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning  by  Agri-Map)
                       เป็นต้น
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36