Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               23







                              2) ถั่วเขียว เป็นพืชเกษตรที่มีศักยภาพเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโปรตีนจากพืชที่เป็น
                       อาหารแห่งอนาคตของไทย เพราะเป็นพืชที่มีระดับโปรตีนสูงใกล้เคียงกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ขายได้
                       ราคาดี ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น และเป็นพืชที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ข้อดีของถั่วเขียว คือ เป็นพืชที่
                       สามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูแล้ง จึงเหมาะส าหรับปลูกเป็นพืชหลังนา เพื่อเพิ่มปริมาณ

                       อินทรียวัตถุในดิน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช
                       ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและยังช่วยสร้างรายได้เสริมอีกด้วย

                       4. แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                         4.1  ข้าว

                             1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 995,168 ไร่
                       อยู่ในทุกอ าเภอเกือบเต็มพื้นที่ทั้งจังหวัด  ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการ
                       เสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่ส าคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ า

                       ชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว โดยรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
                       พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการท า

                       มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ Good  Agricultural  Practices:  GAP และเนื่องจากเป็นพื้นที่
                       ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบ ารุงดิน ทั้งนี้

                       ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะน าว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อ
                       การปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น

                             2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่
                       11,396  ไร่ อยู่ในเขตอ าเภอวังน้อย  เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีข้อจ ากัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าว
                       ได้ผลดี ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ า ระบบชลประทาน จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรใน

                       การใช้ที่ดิน และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะน าว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืช
                       ชนิดอื่น

                             3) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
                       ใช้ปลูกข้าว มีเนื้อที่ 631 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน 150 ไร่ มันส าปะหลัง 61 ไร่ และข้าวโพดเลี้ยง

                       สัตว์ 420 ไร่ เป็นเนื้อที่ไม่มากนัก จึงไม่แนะน าให้ปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าว
                         4.2  มะพร้าว

                             จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบพื้นที่ปลูกมะพร้าว 501 ไร่ และอยู่บนพื้นที่ศักยภาพไม่
                       เหมาะสมทั้งหมด จึงควรให้ความรู้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสมตรงตามศักยภาพของ
                       พื้นที่ โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการ ต่างๆ เช่น Zoning by Agri-Map เป็นต้น พร้อมทั้งจัดระบบการ

                       ผลิตและการบริหารจัดการดิน น้ า ปุ๋ย ที่เหมาะสมส าหรับมะพร้าว การสนับสนุนแหล่งน้ า และการ
                       ส่งเสริมให้ความรู้ในการปรับปรุงบ ารุงดิน และการท าเกษตรผสมผสาน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35