Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปทุมธานี
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               21







                       ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีและ
                       ต้องการปรับเลี่ยนการผลิตควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่าในอนาคตยังสามารถกลับมาทำนาได้อีก


                             3) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้

                       ใช้พื้นที่ปลูกข้าว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ประมาณ 4,622 ไร่ เห็นควรให้

                       ปรับเปลี่ยนการผลิตมาปลูกข้าวพันธ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด หรือการผลิตข้าวคุณภาพสูงเช่น

                       ผลิตภัณฑ์ GAP แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นอาจ

                       ส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ทำการเกษตรแบบผสมผสานทดแทน

                         4.2  ปาล์มน้ำมัน

                             จังหวัดปทุมธานีไม่มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกปาล์ม

                       น้ำมันในพื้นที่ไม่เหมาะสม 9,610 ไร่ ซึ่งถึงแม้ว่าปาล์มน้ำมันจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่เพาะปลูก

                       มากเป็นอันดับ 2 ของปทุมธานี แต่ทั้งหมดปลูกในพื้นที่มีศักยภาพที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์ม
                       น้ำมัน ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ หรือลงทุนสำหรับปัจจัยการผลิตสูง เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้มี

                       ความเหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมันได้ จึงไม่เหมาะสมสำหรับแนะนำเกษตรกรรายย่อยทำการ

                       เพาะปลูก และสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่ได้มีการปลูกปาล์มน้ำมันแล้วได้ผลผลิตไม่ดี เห็นควรให้การ

                       ช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดินสนับสนุน

                       แหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม หรือส่งเสริมสินค้าเกษตรชนิดอื่น ๆ ที่
                       สามารถปลูก/เลี้ยง หรืออยู่ร่วมกันได้ในสวนปาล์มน้ำมัน ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้เกษตรกร

                       สามารถเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น


                         4.3  มะพร้าว

                             1) พื้นที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 3,888 ไร่ เนื่องจากสภาพพื้นที่ของ
                       จังหวัดปทุมธานีเป็นดินเหนียวจัด การระบายน้ำไม่ดี จึงต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยการยก

                       ร่อง และใส่ปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เพื่อให้มีสภาพพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกมะพร้าวได้ ควรความรู้

                       เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสมตรงตามศักยภาพของพื้นที่ โดยสนับสนุนให้เข้าร่วม

                       โครงการต่าง ๆ เช่น Zoning by Agri-Map เป็นต้น พร้อมทั้งจัดระบบการผลิตและการบริหารจัดการดิน

                       น้ำ ปุ๋ย ที่เหมาะสมสำหรับมะพร้าว การสนับสนุนแหล่งน้ำ และการส่งเสริมให้ความรู้ในการปรับปรุงบำรุง

                       ดิน และการทำเกษตรผสมผสาน

                             2) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมะพร้าว มีเนื้อที่ 102 ไร่ (S2)
                       พบอยู่ในอำเภอหนองเสือ 88 ไร่ และอำเภอเมืองปทุมธานี 14 ไร่ และเป็นพื้นที่นาข้าวที่สามารถ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33