Page 26 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปทุมธานี
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               19







                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1  ข้าวหอมปทุม (ปทุมธานี 1) เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าที่มีคุณภาพข้าวสุกนุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมคล้าย

                       ข้าวหอมมะลิ เป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง จึงสามารถปลูกได้ตลอดปี ได้มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าว
                       สายพันธุ์ BKNA6-183-2 กับสายพันธุ์ PTT8506-3-21 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พ.ศ. 2553 ได้รับการ

                       ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ใน พ.ศ. 2564

                       (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2564) ถึงแม้จะมีราคาขายไม่สูงเทียบเท่ากับข้าวขาวดอกมะลิ 105 แต่ถ้ามี
                       การส่งเสริมให้มีการพัฒนาการผลิต หรือการพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งมีการ

                       รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมปทุมธานี และร่วมกันสร้างตลาดใหม่ หรือตลาดเฉพาะ หรือตลาด

                       ทางเลือก เช่น การผลิตเป็นสินค้าเกษตรปลอดภัย ซึ่งจะเปิดโอกาสในการเพิ่มรายได้ และความมั่นคง
                       ทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มเกษตรกรด้วย

                         3.2  กล้วยหอมทองปทุม ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็น GI ใน พ.ศ. 2560 เป็นกล้วยหอม
                       ทองที่มีผลใหญ่ยาว หน้าตัดค่อนข้างกลม ปลายคอดเล็กน้อย ผิวนวล เปลือกบาง ผลดิบ สีเขียวนวล

                       ผลสุกสีเหลืองทองนวล เนื้อเหนียวแน่นรสชาติหอมหวาน ปลูกในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี (กรมทรัพย์สิน

                       ทางปัญญา, 2564) ซึ่งจากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2564 พบว่ามีพื้นที่ปลูก
                       กล้วยทั้งหมด 47,202 ไร่ พบกระจายตัวอยู่ในทุกอำเภอ และพบมากในอำเภอหนองเสือ และพบว่า

                       ปลูกมากในชุดดินรังสิต ซึ่งเป็นดินเหนียวจัด ซึ่งจะต้องมีการจัดการสภาพพื้นที่เพื่อให้พื้นที่มีความ
                       เหมาะสมสำหรับปลูกกล้วยหอมได้ เช่น การยกร่อง ขุดร่องระบายน้ำ เป็นต้น โดยการผลิตกล้วยทอง

                       ปทุมธานี นั้น จะต้องมีระบบควบคุมภายใน และผู้ผลิต ผู้ประกอบการ จะได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา

                       สัญลักษณ์ GI ไทย กำกับลงบนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ได้ โดยการอนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ GI มีอายุ
                       2 ปี ซึ่งเมื่อครบกำหนดสามารถดำเนินการควบคุมตรวจสอบสินค้าตามระบบที่จัดทำขึ้น เพื่อรักษา

                       คุณภาพและมาตรฐานตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชนในท้องที่ และชุมชน

                       ท้องถิ่นนั่น ๆ ร่วมกันควบคุมตรวจสอบสินค้าและบริหารจัดการที่เหมาะสมทั้งกระบวนการผลิต ตั้งแต่
                       ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ ในการใช้ GI สร้างความเข้มแข็ง

                       ให้แก่ชุมชนและสร้างความยั่งยืนให้กับสินค้า เป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของ

                       ผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ผลิตเสริมสร้างและรักษาภาพลักษณ์ในสินค้า ป้องกันการนำชื่อเสียงของ
                       กล้วยหอมทองปทุมไปแอบอ้างโดยทุจริตเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาของกล้วยหอม

                       ทองปทุมที่มีตราสัญลักษณ์ GI สามารถจำหน่ายสินค้าได้ราคาที่สูงกว่ากล้วยหอมที่ไม่ได้รับตรา
                       สัญลักษณ์ ซึ่งจะเพิ่มรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตกล้วยหอมทองปทุมได้
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31