Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปทุมธานี
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               20







                         3.3  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่

                       ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสาระสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกใน พ.ศ. 2564

                       โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วย

                       ให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดำรงชีพจากฐานข้อมูล Agri-Map
                       Online ปทุมธานีมีพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมสำหรับปลูกพืชสมุนไพรไม่มากนัก เนื่องจากสภาพดินที่

                       เป็นดินเหนียวจัดมีการระบายน้ำได้ไม่ดี จึงพบว่ามีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงสำหรับปลูกขมิ้นชัน และ
                       กระชายดำ มีเนื้อที่ 87 ไร่ อยู่ในตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ ซึ่งเป็นพื้นที่เดียวกันเท่านั้น

                       แต่ก็สามารถส่งเสริมให้นำพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ไปพิจารณาปลูกเป็นพืชแซมในแปลงปลูกไม้ผล

                       และไม้ยืนต้นได้ เพื่อเพิ่มรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรได้

                       4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ


                         4.1  ข้าว

                             1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 314,200 ไร่
                       พบกระจายอยู่ในทุกอำเภอ และตั้งอยู่ในเขตชลประทาน คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้

                       มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการ

                       น้ำชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นเพื่อเข้าโครงการระบบส่งเสริม

                       การเกษตรแบบแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรด้านการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป

                       แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ GAP และเนื่องจากเป็นพื้นที่

                       ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน
                       ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อ

                       การปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น


                             2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่

                       5,397 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอหนองเสือ และอำเภอธัญบุรี เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก

                       เกษตรกรยังคงปลูกข้าวได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก
                       ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้

                       ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับ

                       การเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นยำหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และภาครัฐควรให้ความรู้
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32