Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครนายก
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               21







                         4.2  ปาล์มน้ำมัน
                             (1) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม  (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ ทั้งนี้ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุน
                       การปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มี

                       ความเหมาะสม และปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นอายุประมาณ  20 - 25 ปี การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืช

                       ชนิดอื่นจึงเป็นเรื่องยากในกรณีที่ปาล์มน้ำมันหมดอายุ  การลงทุนน้อยกว่าและให้ผลตอบแทนที่ดี
                       ส่งเสริมสินค้าเกษตรชนิดอื่น ๆ ที่สามารถปลูก เลี้ยง หรืออยู่ร่วมกันได้ในสวนปาล์มน้ำมัน ตามความ

                       เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by
                       Agri-Map) เป็นต้น

                             (2) จังหวัดนครนายกไม่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับเหมาะสมสูง (S1) และพื้นที่

                       เหมาะสมปานกลาง (S2) จึงไม่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในการปลูกปาล์มน้ำมัน
                         4.3  มันสำปะหลัง

                             (1) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมันสำปะหลังอยู่

                       มีเนื้อที่ 745 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอเมืองนครนายก และอำเภอบ้านนา ตามลำดับ
                       ตามมาตรการยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง  2564  – 2567 เน้นให้เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์มันสำปะหลัง

                       ต้านทานโรคใบด่าง (Cassava Mosaic Disease: CMD) ให้เชื้อแป้งสูงและมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ไม่ต่ำ

                       กว่า 5 ตัน ภายในปี 2567 นั้น ทำให้เน้นมีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง  แต่
                       เน้นการลดต้นทุนผลผลิต เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาโรคโคนเน่าหัวเน่า  และโรคใบด่างมันสำปะหลัง

                       ส่งเสริมการทำระบบน้ำหยดในพื้นที่ที่มีศักยภาพ  การปรับปรุงบำรุงดิน  การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมี
                       ประสิทธิภาพ ทำการวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ    ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสำปะหลังเบื้องต้น

                       เพื่อเพิ่มมูลค่า  อาทิ การแปรรูปมันเส้นสะอาด  สร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรและโรงงาน

                       เพื่อวางแผนการขุดของเกษตรกร  ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุและระยะเวลาที่
                       เหมาะสม ใช้ท่อนพันธุ์ที่ต้านทานโรค  และให้ผลผลิตสูง เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตร

                       แบบแปลงใหญ่ และส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น Smart Farmer
                             (2) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกมันสำปะหลังอยู่ ทั้งนี้ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้  โดยส่งเสริม

                       และสร้างความรู้ความเข้าใจในการไถระเบิดดินดาน  ให้เกษตรกรมีวิธีป้องกันและแก้ไขปั ญหาที่
                       ลดต้นทุน ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิต

                       อาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map)

                       เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชไร่ หรือพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน
                       ส่งเสริมให้มีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน  ซึ่งอาจต้องใช้ปุ๋ยสั่งตัด  สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33