Page 34 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
โครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกมันสำปะหลัง มีต้นทุนต่ำ
และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.4 ปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอุบลราชธานีลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตร
เชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 - 13)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 86,437 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.11
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอนาจะหลวย 37,898 ไร่ อำเภอน้ำยืน 33,451 ไร่
และอำเภอบุณฑริก 15,088 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 685,664 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
8.85 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเดชอุดม 176,154 ไร่ อำเภอบุณฑริก
164,168 ไร่ และอำเภอน้ำยืน 141,007 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 1,537,864 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
19.86 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอพิบูลมังสาหาร 259,779 ไร่ อำเภอ
เดชอุดม 253,577 ไร่ และอำเภอวารินชำราบ 192,418 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 5,433,056 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของ
ที่ดิน ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 1,149 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.33 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน 529 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 5,917 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.86 ของพื้นที่
ศักยภาพปานกลาง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอนาจะหลวย 2,186 ไร่ อำเภอน้ำยืน 1,316 ไร่ และอำเภอ
เดชอุดม 973 ไร่ เป็นต้น
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 3,497 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของพื้นที่
ศักยภาพเล็กน้อย กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเดชอุดม 859 ไร่ อำเภอสว่างวีระวงศ์ 809 ไร่ และ
อำเภอนาจะหลวย 459 ไร่ เป็นต้น
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 4,751 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกปาล์มน้ำมันแต่ยังไม่มีการ
ปลูก พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับปาล์มน้ำมัน และพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันในชั้น
ความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่มีศักยภาพคงเหลือในชั้นความเหมาะสม
ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 85,288 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 98.67 ของพื้นที่
ศักยภาพสูง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอนาจะหลวย 37,278 ไร่ อำเภอน้ำยืน 32,922 ไร่ และอำเภอ
บุณฑริก 15,088 ไร่