Page 33 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               26








                               ทั้งนี้ ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับ
                       ความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูก
                       พืชตรงตามศักยภาพของดิน ลงทุนต่ำก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว
                                  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ที่ควร

                       ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลัง คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว (S3+N) 345,807 ไร่
                       โดยอำเภอที่มีศักยภาพในการขยายการผลิตมันสำปะหลัง (ตารางที่ 8)

                       ตารางที่ 8  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตมันสำปะหลัง

                                                                       ข้าว (ไร่)
                               อำเภอ
                                                      S3                  N                 รวม

                        น้ำยืน                       2,799                691               3,490
                        เขมราฐ                       3,462                   -              3,462
                        น้ำขุ่น                         20                   -                 20
                        สิรินธร                      1,778                 36               1,814

                        นาจะหลวย                     2,558                 44               2,602
                        เขื่องใน                    40,297             66,184            106,481
                        ม่วงสามสิบ                  32,120            109,910            142,030
                        กุดข้าวปุ้น                  5,652                697               6,349

                        ตระการพืชผล                 16,249               1,237            17,486
                        พิบูลมังสาหาร               61,133                449             61,582
                        เหล่าเสือโก้ก                  366                   -               366
                        เมืองอุบลราชธานี               107                 18                125

                                รวม               166,541             179,266            345,807

                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกมันสำปะหลังต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี

                       คุณภาพดี ซึ่งการปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญ
                       ต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
                       ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่

                       สำคัญของจังหวัด โดยพบมากที่อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ ตามลำดับ
                                 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
                       มันสำปะหลังในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมันสำปะหลังเช่น ความอุดม
                       สมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยพบมากที่อำเภอตาพระยา อำเภอวัฒนานคร อำเภอ

                       เมืองสระแก้ว ตามลำดับ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38