Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุดรธานี
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                2







                                 (1) สันดินริมน้ า (Levee) เป็นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ าพาบริเวณริม
                       ฝั่งแม่น้ า เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ า การระบายน้ าค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ เช่น
                       ชุดดินชุมพลบุรี (Chp)
                                 (2) ที่ลุ่มหลังสันดินริมน้ า (Back swamp, basin) เป็นที่ลุ่มน้ าขังอยู่ระหว่างสันดิน

                       ริมน้ ากับตะพักล าน้ าหรือด้านข้างหุบเขา การระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลว ดินลึกมาก เนื้อดินเหนียว
                       ละเอียด สีเทาและน้ าตาลปนเทา เช่น ชุดดินกันทรลักษณ์วิชัย (Ka)
                               2) ที่ราบตะกอนน้ าพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ าหรือล า
                       น้ าสาขา วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นตะกอนน้ าพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่ง

                       แม่น้ า แต่ละฝั่งอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น
                                 (1) ตะพักล าน้ าระดับต่ า (Low terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก
                       เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ าตาลปนเทา และน้ าตาล มีจุดประ
                       สีต่าง ๆ การระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลว เช่น ชุดดินชุมแพ (Cpa) ชุดดินนาอ้อ (Nao) ชุดดินหนองกุง (Nkg)

                       ชุดดินธวัชบุรี (Th) และตะกอนน้ าพาเชิงซ้อน(AC)
                                 (2) ตะพักล าน้ าระดับกลางและระดับสูง (Middle and high terrace) เป็นที่ดอน
                       มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรังถึงดินลึกมาก เนื้อดิน

                       เป็นดินร่วนหยาบ ดินร่วนละเอียดหรือดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ าตาล เหลือง น้ าตาลปนแดง
                       ไปจนถึงแดง การระบายน้ าดีปานกลางถึงดี เช่น ชุดดินสตึก (Suk)
                               3) พื้นที่เกือบราบ (Peneplain) เป็นภูมิลักษณ์ของพื้นผิวดินภายหลังการกร่อน เกิด
                       จากการผุพังด้วยกระบวนการกร่อนท าลายโดยน้ า ท าให้พื้นที่สูงเดิมซึ่งขรุขระและสูงต่ าแตกต่างกัน
                       มาก มีระดับต่ าลงจนมีลักษณะคล้ายลูกคลื่นลอนลาดหรือพื้นที่เกือบราบ วัตถุต้นก าเนิดดินเกิดจาก

                       การผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกล ดินจึงมีลักษณะเด่นตามวัตถุต้นก าเนิด
                       หรือหินที่รองรับอยู่ด้านล่างและระดับการพัฒนาตัวของดิน แบ่งเป็น
                                 (1) พื้นที่แบบราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย การระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลว

                       ในบริเวณที่ราบลุ่มหรือที่ราบ หรือตามร่องระหว่างที่ดอนหรือเนิน เนื้อดินส่วนใหญ่มีทรายปน มีสีเทา
                       หรือน้ าตาลปนเทา พบจุดสีต่างๆ ถัดขึ้นมาบริเวณพื้นที่ที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด
                       เล็กน้อย มีสีน้ าตาล น้ าตาลปนเหลือง และเหลือง และมีจุดประสีเทาค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะ
                       ในช่วงตอนบนเนื่องจากการขังน้ า พบจุดประสีเหลือง น้ าตาล หรือแดงในดินล่าง มีการระบายน้ า

                       ค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง อาจพบชั้นดินเหนียวในตอนล่างของหน้าตัด และอาจพบชั้นลูกรังในช่วงที่
                       เปลี่ยนจากเนื้อดินหยาบเป็นเนื้อดินละเอียด ค่าปฏิกิริยาดินในสนามส่วนใหญ่เป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง
                       เช่น ชุดดินละหานทราย (Lah) ชุดดินเพ็ญ (Pn) ชุดดินโพนพิสัย (Pp) ชุดดินปลาปาก (Ppk) ชุดดิน
                       เรณู (Rn) และชุดดินอุดร (Ud)

                                 (2) พื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงสภาพพื้นที่แบบเนินเขา ดินส่วนใหญ่
                       มีการระบายน้ าค่อนข้างดีถึงดี สีน้ าตาล น้ าตาลปนเหลือง เหลือง น้ าตาลปนแดง เหลืองปนแดงจนถึง
                       แดง เนื้อดินมีทรายปนอย่างชัดเจน บางบริเวณพบลูกรังในหน้าตัดดิน ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
                       ถึงเป็นกรดปานกลาง ชุดดินสีทน (St) พบบริเวณพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นร่อง ชุดดินร้อยเอ็ด (Re)

                       พบบริเวณพื้นที่ลักษณะเป็นที่ราบ ชุดดินพระทองค า (Ptk) ชุดดินค าบง (Kg) ชุดดินปักธงชัย (Ptc)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14