Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุดรธานี
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                3







                       ชุดดินห้วยแถลง (Ht) พบบริเวณพื้นที่ลักษณะเป็นที่ค่อนข้างราบถึงเป็นลูกคลื่น ดินที่เกิดความ
                       ไม่ต่อเนื่องทางธรณีวิทยา (Lithologic discontinuities) ส่วนใหญ่เป็นชั้นดินทรายในตอนบน
                       และเปลี่ยนเป็นดินเหนียวหรือชั้นหินพื้น (weathering insitu) ในตอนล่าง (Abrupt textural
                       change) เช่น ชุดดินพล (Pho) ชุดดินเขมราฐ (Kmr) ชุดดินหนองบัวแดง (Nbd) ชุดดินโนนแดง

                       (Ndg)  ชุดดินสีคิ้ว (Si) และชุดดินยางตลาด (Yl)
                               4) ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็นลูก
                       คลื่นลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วง
                       ของโลกในระยะทางใกล้ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่พบหิน

                       ปะปนในหน้าตัดดินและลอยหน้า แบ่งตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้
                                 (1) พัฒนาจากหินทราย ดินมีการระบายน้ าตั้งแต่ดีปานกลางถึงค่อนข้างมากเกินไป
                       สีน้ าตาล น้ าตาลปนเหลือง เหลือง น้ าตาลปนแดง เหลืองปนแดง จนถึงแดง เนื้อดินมีทรายปนอย่าง
                       ชัดเจน พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดินค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด เช่น

                       ชุดดินภูพาน (Pu) และชุดดินวังน้ าเขียว (Wk)
                                 (2) พัฒนาจากหินดินดาน ดินมีการระบายน้ าดีปานกลางถึงดี สีน้ าตาล น้ าตาลปน
                       เหลือง น้ าตาลปนแดง เหลือง หรือแดง เป็นดินเหนียว ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง

                       เช่น ชุดดินวังสะพุง (Ws) ชุดดินมวกเหล็ก (Ml) และชุดดินลี้ (Li)
                                 (3) พัฒนาจากหินปูน ดินมีการระบายน้ าดีปานกลางถึงดี น้ าตาลปนแดง ถึงแดง
                       บางบริเวณพบฐานของชั้นหินปูนในตอนล่างของหน้าตัดดิน ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็น
                       ด่างปานกลาง บางพื้นที่พบชั้นสะสมปูนมาร์ล (marl) เช่น ชุดดินภูผาม่าน (Ppm)
                                 (4) พัฒนาจากหินภูเขาไฟ ดินมีการระบายน้ าดีปานกลางถึงดี สีด า น้ าตาล น้ าตาลปน

                       แดง ถึงแดง ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง เช่น ชุดดินบ้านจ้อง (Bg) ชุดดิน
                       เชียงของ (Cg) ดินแก่งคอย (Kak)  และชุดดินครบุรี
                                 (5) พัฒนาจากหินแกรนิต ดินมีการระบายน้ าดีปานกลางถึงดี สีด า น้ าตาล น้ าตาลปน

                       เทา และน้ าตาลปนแดง ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง เช่น ชุดดินเลย (Lo)
                       และชุดดินภูสะนา (Ps)
                               5) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ทรัพยากรดิน
                       มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่

                             ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากในจังหวัดอุดรธานี (ภาพที่ 1 - 5)
                           1.5  สภาพการใช้ที่ดิน

                               สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดอุดรธานี จากฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน
                       ของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 1)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15