Page 33 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอำนาจเจริญ
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               26








                         4.4  ยางพารา
                             1)  พื นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อ

                       ที่ 58 ไร่ มีพื้นที่ปลูกในเขตอ าเภอหัวตะพาน อ าเภอเสนางคนิคม และอ าเภอพนา มีการส่งเสริมให้
                       เกษตรกรในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพ นอกจากนี้ควรมีการปลูกพืชแซม
                       และพืชคลุมดินให้เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยางพารา บ ารุงรักษา ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง

                       และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ ายางสูงมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน เน้นการพัฒนา
                       การตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง

                             2)  พื นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 54,975 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอชานุมาน อ าเภอเมืองอ านาจเจริญ และอ าเภอเสนางคนิคม
                       เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี แต่อย่างไรก็ตามควรมีการส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุ

                       ตั้งแต่ 25 ปี และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเน้นการ
                       จัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดย เฉพาะการปรับปรุงบ ารุงดิน
                       ตลอดจนพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความ
                       เหมาะสมปานกลางให้มากขึ้น


                             3)  พื นที่ปลูกยางพาราในพื นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี เช่นเดียวกับพื้นที่ที่มี
                       ความเหมาะสมปานกลาง แต่ส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ไม้ผลต่าง ๆ มะพร้าว ไผ่หวาน
                       มันส าปะหลัง พืชไร่ และพืชผักต่าง ๆ

                             4)  พื นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบัน

                       เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน ในส่วนนี้ภาครัฐควรให้
                       ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านการเกษตรในปัจจุบัน โดยเฉพาะยางพาราเป็นพืชที่มีนโยบายลด
                       พื้นที่ปลูกเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากส่งผลให้ราคาตกต่ า แต่ในอนาคตถ้าราคาดีและตลาดมีความ
                       ต้องการเพิ่มมากขึ้นอาจอาจสนับสนุนให้เกษตรกรกลับมาปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าว โดยเน้นการ
                       ท าการเกษตรแบบผสมผสาน หรือการเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ วนเกษตร เพื่อท าให้

                       เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38