Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดขอนแก่น
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                3








                       ค่อนข้างดีเกินไป สีน้ําตาล น้ําตาลปนเหลือง เหลือง จนถึงแดง และอาจพบจุดสีเล็กน้อย ค่าปฏิกิริยาดิน
                       เป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย
                           (2) พื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงสภาพพื้นที่แบบเนินเขา ดินส่วนใหญ่
                       มีการระบายน้ําค่อนข้างดีถึงดี สีน้ําตาล น้ําตาลปนเหลือง เหลือง น้ําตาลปนแดง เหลืองปนแดง จนถึง

                       สีแดง เนื้อดินมีทรายปนอย่างชัดเจน บางบริเวณพบลูกรังในหน้าตัดดิน ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง
                       เป็นกรดปานกลาง เช่น ชุดดินสีทน (St) พบบริเวณพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นร่อง ชุดดินร้อยเอ็ด (Re) พบ
                       บริเวณพื้นที่ลักษณะเป็นที่ราบ ชุดดินบ้านไผ่ (Bpi) ชุดดินคําบง (Kg) ชุดดินปักธงชัย (Ptc) พบบริเวณ
                       พื้นที่ลักษณะเป็นที่ค่อนข้างราบถึงเป็นลูกคลื่น เป็นต้น สําหรับดินที่เกิดความไม่ต่อเนื่องทาง

                       ธรณีวิทยา (Lithologic discontinuities) ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเป็นชั้นดินทรายในตอนบน และ
                       เปลี่ยนเป็นดินเหนียวหรือชั้นหินพื้น (Weathering insitu) ทันทีในตอนล่าง (Abrupt textural
                       change) เช่น ชุดดินพล (Pho) ชุดดินเขมราฐ (Kmr) เป็นต้น

                           4) พื้นที่รองรับด้วยหินชนิดต่าง ๆ และโครงสร้างของหิน มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็น
                       ภูเขา หุบเขา เนินหรือที่ราบที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัว และถูกควบคุมด้วยลักษณะของ

                       โครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่มีหินที่เป็นวัตถุต้นกําเนิดดินปะปนให้เห็นทั้งในหน้าตัดดินและ
                       ลอยหน้า แบ่งออกได้ตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้
                           (1) พัฒนาจากหินทราย ดินมีการระบายน้ําตั้งแต่ดีปานกลางถึงค่อนข้างมากเกินไป
                       สีน้ําตาล น้ําตาลปนเหลือง เหลือง น้ําตาลปนแดง เหลืองปนแดง จนถึงสีแดง เนื้อดินมีทรายปนอย่าง

                       ชัดเจน บางบริเวณพบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดินค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็น
                       กรดจัด เช่น ชุดดินภูพาน (Pu) ชุดดินวังน้ําเขียว (Wk) เป็นต้น
                           (2) พัฒนาจากหินทรายแป้ง ดินมีการระบายน้ําดีปานกลางถึงดี สีน้ําตาล น้ําตาลปนแดง

                       น้ําตาลปนเหลือง เนื้อดินมีทรายแป้งปนอย่างชัดเจน ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง
                       บางบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากปูน ดินจะทําปฏิกิริยากับกรดเกลือ บางบริเวณมีการดัดแปลงสภาพพื้นที่
                       เพื่อใช้ประโยชน์ในการทํานา เช่น ชุดดินวังไห่ (Wi) ชุดดินเทพารักษ์ (Tpr) ชุดดินโนนไทย (Nt) เป็นต้น
                           (3) พัฒนาจากหินดินดาน ดินมีการระบายน้ําดีปานกลางถึงดี สีน้ําตาล น้ําตาลปนเหลือง
                       น้ําตาลปนแดง เหลือง หรือแดง เป็นดินเหนียว ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง เช่น

                       ชุดดินวังสะพุง (Ws) ชุดดินกลางดง (Kld) ชุดดินมวกเหล็ก (Ml) เป็นต้น
                           (4) พัฒนาจากหินปูน ดินมีการระบายน้ําดีปานกลางถึงดี สีดํา น้ําตาล น้ําตาลปนแดง
                       ถึงแดง บางบริเวณพบฐานของชั้นหินปูนในตอนล่างของหน้าตัดดิน ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรด

                       ปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง บางพื้นที่พบชั้นสะสมปูนมาร์ล (marl) เช่น ชุดดินภูผาม่าน (Ppm)
                       ชุดดินดงลาน (Dl) ชุดดินหินซ้อน (Hs) เป็นต้น

                           5) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ทรัพยากรดิน
                       มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่
                            ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดขอนแก่น ในภาพที่ 1 – 5
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14