Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดขอนแก่น
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                2








                         1.4  ทรัพยากรดิน
                           ทรัพยากรดินจังหวัดขอนแก่น แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา วัตถุต้นกําเนิดดิน
                       ได้ดังนี้
                           1) ที่ราบน้ําท่วมถึง (Flood plain) ได้รับอิทธิพลของแม่น้ําหรือลําน้ําสาขา วัตถุต้นกําเนิดดิน

                       เป็นตะกอนน้ําพา (Alluvium) สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงราบเรียบ ในหน้าฝนหรือหน้าน้ําหลาก
                       มักมีน้ําท่วมและมีการทับถมของตะกอนเพิ่มมากขึ้นหลังน้ําท่วม แบ่งเป็น 2 แบบ
                           (1) สันดินริมน้ํา (Levee) เป็นพื้นที่ดอน การระบายน้ําค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ
                       อาทิ ชุดดินชุมพลบุรี (Chp)

                           (2) ที่ลุ่มหลังสันดินริมน้ํา (Back swamp, basin) เป็นบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม การระบายน้ํา
                       ค่อนข้างเลวถึงเลว เนื้อดินละเอียด เช่น ชุดดินกันทรวิชัย (Ka) ชุดดินเกษตรสมบูรณ์ (Ksb) เป็นต้น
                           2) ตะพักลําน้ํา (Alluvial terrace) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ําหรือลําน้ําสาขา
                       วัตถุต้นกําเนิดดินเป็นตะกอนน้ําพา (alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเป็นขั้น ๆ แต่ละข้างอาจมี

                       ตะพักได้หลายระดับ บริเวณตะพักลําน้ําระดับต่ํามีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ดินมีการระบายน้ํา
                       ค่อนข้างเลว สีน้ําตาลปนเทา สีน้ําตาล มีจุดประสีต่าง ๆ เนื้อดินอาจเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือ
                       ดินร่วนเหนียวปนทราย เช่น ชุดดินชุมแพ (Cpa) ชุดดินหนองบุญนาก (Nbn) เป็นต้น รวมทั้งดิน

                       ที่ได้รับอิทธิพลจากหินอมเกลือ อาทิ ชุดดินกุลาร้องไห้ (Ki) ส่วนบริเวณตะพักลําน้ําระดับกลางถึง
                       ระดับสูง มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นเนินเขา ดินมีการระบายน้ําดี สีน้ําตาล เหลืองไปจนถึงแดง
                       เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายหรือทรายแป้ง และมักจะพบก้อนกรวดท้องน้ําลักษณะกลมมนหรือตะกอน
                       ทรายหยาบในหน้าตัดดิน เช่น ชุดดินชุมพวง (Cpg) ชุดดินสตึก (Suk) เป็นต้น
                           3) พื้นเกือบราบ (Peneplain) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น

                       วัตถุต้นกําเนิดดินเกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของ
                       วัสดุเนื้อหยาบที่มาจากหินตะกอนที่ส่วนใหญ่เป็นพวกหินทราย แต่จะไม่ค่อยพบชิ้นส่วนหรือเศษหิน
                       ของหินทรายในหน้าตัดดินหรือบริเวณผิวหน้าดิน แบ่งเป็น

                           (1) พื้นที่แบบราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ดินมีการระบายน้ําค่อนข้างเลวถึงเลว
                       ในบริเวณที่ราบลุ่มหรือที่ราบ หรือตามร่องระหว่างที่ดอนหรือเนิน เนื้อดินส่วนใหญ่มีทรายปน ดินมีสีเทา
                       หรือสีน้ําตาลปนเทา เป็นสีพื้น และพบจุดสีต่าง ๆ ถัดขึ้นมาบริเวณพื้นที่ที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็น
                       ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ดินมีสีน้ําตาล น้ําตาลปนเหลือง เหลือง และมีจุดประสีเทาค่อนข้างชัดเจน

                       โดยเฉพาะในช่วงตอนบนอันเนื่องมาจากการขังน้ํา นอกจากนี้จะพบจุดประสีเหลือง น้ําตาล หรือแดง
                       ในหน้าตัดดิน ดินมีการระบายน้ําอยู่ระหว่างค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้ใช้ปลูก
                       พืชไร่ ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้มีการดัดแปลงสภาพพื้นที่โดยการทําคันนาเพื่อใช้ปลูกข้าว
                       ซึ่งคันนาจะมีลักษณะค่อนข้างกว้างและสูง เนื่องจากเกษตรกรได้ปาดเอาหน้าดินที่เป็นชั้นดินทราย

                       และหนาออกไปกองไว้เพื่อทําคันนาสําหรับใช้ปลูกข้าว บางบริเวณหากมีชั้นดินเหนียวอยู่ด้านล่าง
                       สามารถเก็บกักน้ําได้ และมักจะพบชั้นลูกรังทั้งที่มีความหนามาก ๆ หรือเป็นชั้นบาง ๆ ในช่วงที่ดิน
                       มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อดินจากเนื้อดินหยาบเป็นเนื้อดินละเอียด ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง
                       แต่หากบริเวณใดที่ได้รับอิทธิพลของความเค็ม จะมีค่าปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างปานกลางและ

                       มีคราบเกลือบริเวณผิวหน้าดิน ส่วนบริเวณที่ดอนแบบลูกคลื่นลอนลาด การระบายน้ําดีปานกลางถึง
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13