Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพิจิตร
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                       1. ขอมูลทั่วไป


                               จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,831,883 ไร ตั้งอยูในภาคเหนือของ
                       ประเทศไทย ประกอบดวย 12 อําเภอ 89 ตําบล (ตารางภาคผนวกที่ 1) มีประชากร 532,310 คน
                       (กรมการปกครอง, 2563)

                         1.1  อาณาเขตติดตอ
                             ทิศเหนือ      ติดตอ   จังหวัดพิษณุโลก

                             ทิศใต       ติดตอ   จังหวัดนครสวรรค
                             ทิศตะวันออก   ติดตอ   จังหวัดเพชรบูรณ
                             ทิศตะวันตก    ติดตอ   จังหวัดกําแพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค

                         1.2  ภูมิประเทศ

                             สภาพภูมิประเทศของจังหวัดพิจิตร เปนที่ราบลุมแมน้ํา มีแมน้ําสายสําคัญไหลผาน 3 สาย
                       ไดแก แมน้ํานาน แมน้ํายม และแมน้ําพิจิตร ลักษณะพื้นที่จะสูงดานทิศเหนือและคอย ๆ ลาดเทลงไป
                       ทางตอนใต และตอลงไปยังเขตภาคกลางตอนลาง แมน้ําในเขตนี้จะไหลแรงและเร็วกวาแมน้ําทางตอนลาง
                       ทางตะวันออกบริเวณขอบแองมีลักษณะภูมิประเทศเปนเนิน ภูเขาเตี้ย ๆ พื้นที่สูง ๆ ต่ํา ๆ ซึ่งเกิดจาก
                       การสึกกรอน ภูเขามีความสูงประมาณ 60-250 เมตร สูงจากระดับน้ําทะเลปานกลางเฉลี่ย 37.95 เมตร


                         1.3  ภูมิอากาศ
                             สภาพภูมิอากาศของจังหวัดพิจิตร ไดรับอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทําให
                       อากาศหนาวเย็นและแหงแลง กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต ทําใหอากาศชุมชื้นและมีฝนตก มี 3 ฤดู
                       ไดแก ฤดูรอนเริ่มตั้งแตเดือนกุมภาพันธถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแตเดือนพฤษภาคมถึงเดือน
                       ตุลาคม ฝนจะตกหนักที่สุดในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดป 28.28 องศาเซลเซียส

                       อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 33.05 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยต่ําสุด 23.51 องศาเซลเซียส

                         1.4  ทรัพยากรดิน
                             ทรัพยากรดินของจังหวัดพิจิตร แบงตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ
                       ตนกําเนิดดิน ไดดังนี้

                             1) ที่ราบน้ําทวมถึง (Flood plain) ที่ราบริมแมน้ําหรือลําธาร หนาฝนหรือหนาน้ํามักมี
                       น้ําทวมเปนครั้งคราว เปนสภาพพื้นที่ที่เกิดจาการทับถมของตะกอนน้ําพา และมีตะกอนเพิ่มมากขึ้น
                       หลังน้ําทวม แบงเปน
                               (1) สันดินริมน้ํา (Levee) เปนที่ดอน มีสภาพพื้นที่คอนขางราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด

                       เล็กนอย เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ําพาบริเวณริมฝงแมน้ํา เปนสันนูนขนานไปกับริมฝงแมน้ํา ดินลึก
                       เนื้อดินรวนหยาบ สีน้ําตาลและน้ําตาลปนแดง การระบายน้ําดีปานกลางถึงดี เชน ชุดดินเชียงใหม (Cm)
                       ชุดดินตะพานหิน (Tph) เปนตน
                               (2) ที่ลุมหลังสันดินริมน้ํา (Back swamp, basin) เปนที่ลุมน้ําขังอยูระหวางสันดินริมน้ํากับ

                       ตะพักลําน้ําหรือดานขางหุบเขา การระบายน้ําคอนขางเลวถึงเลว ดินลึกมาก เนื้อดินเหนียวละเอียด
                       สีเทาและน้ําตาลปนเทา การระบายน้ําเลว เชน ชุดดินบางระกํา (Brk) ชุดดินบางมูลนาก (Ban) เปนตน
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13