Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตาก
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                2







                             2) ที่ราบตะกอนน้ําพา (Alluvial plain) เปนบริเวณที่ไดรับอิทธิพลของแมน้ําหรือลําน้ํา
                       สาขา วัตถุตนกําเนิดดินเปนตะกอนน้ําพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เปนที่ราบขนาดใหญสองฝงแมน้ํา
                       แตละฝงอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักไดหลายระดับ แบงเปน
                               (1) ตะพักลําน้ําระดับต่ํา (Low terrace) เปนที่ลุม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก

                       เนื้อดินอาจเปนดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแปงละเอียด สีเทา น้ําตาลปนเทา และน้ําตาล มีจุดประ
                       สีตาง ๆ การระบายน้ําคอนขางเลวถึงเลว อาทิ ชุดดินพิษณุโลก (Psl)
                               (2) ตะพักลําน้ําระดับกลางและระดับสูง (Middle and High terrace) เปนที่ดอน
                       มีสภาพพื้นที่คอนขางราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรังถึงดินลึกมาก เนื้อดินเปน

                       ดินรวนหยาบ ดินรวนละเอียดหรือดินรวนปนชิ้นสวนหยาบมาก สีน้ําตาล เหลือง น้ําตาลปนแดง ไป
                       จนถึงแดง การระบายน้ําดีปานกลางถึงดี เชน ชุดดินอุทัย (Uti) ชุดดินแมริม (Mr) เปนตน
                               (3) เนินตะกอนน้ําพารูปพัด (Alluvial fan) เปนที่ดอน มีสภาพพื้นที่คอนขางราบเรียบ
                       ถึงลูกคลื่นลอนลาด เปนดินลึกมาก เนื้อดินเปนดินรวนหยาบถึงดินทรายแปงละเอียด

                       สีน้ําตาล เหลืองจนถึงแดง การระบายน้ําดีปานกลางถึงดี อาทิ ชุดดินกําแพงเพชร (Kp)
                               3) ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เปนลูกคลื่น
                       ลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยูกับที่หรือถูกเคลื่อนยายโดยแรงโนมถวงของโลก

                       ในระยะทางใกล ๆ และถูกควบคุมดวยลักษณะของโครงสรางทางธรณีวิทยา สวนใหญพบหินปะปนใน
                       หนาตัดดินและลอยหนา แบงตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้
                               (1) พัฒนาจากกลุมหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อหยาบหรือหินในกลุม สวนใหญเปน
                       หินทรายและหินควอรตไซต ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเปนดินรวนหยาบ
                       ถึงดินรวนปนชิ้นสวนหยาบมาก สีน้ําตาล น้ําตาลปนเหลือง น้ําตาลปนแดงจนถึงแดง การระบายน้ําดี

                       พบเศษหินปะปนในหนาตัดดินหรือบนผิวดิน เชน ชุดดินทายาง (Ty) ชุดดินลาดหญา (Ly) เปนตน
                               (2)  พัฒนาจากกลุมหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อละเอียดหรือหินในกลุม สวนใหญเปน
                       หินดินดานและหินฟลไลต ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเปนดินเหนียวละเอียด

                       ถึงดินเหนียวปนชิ้นสวนหยาบมาก สีน้ําตาล น้ําตาลปนแดง และน้ําตาลปนเหลือง การระบายน้ําดี
                       พบเศษหินปะปนในหนาตัดดินหรือบนผิวดิน เชน ชุดดินวังสะพุง (Ws) ชุดดินลี้ (Li) เปนตน
                               (3)  พัฒนาจากหินปูน ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเปนดิน
                       เหนียวละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นสวนหยาบมาก สีแดง น้ําตาล และน้ําตาลปนแดง การระบายน้ําดี

                       พบเศษหินปะปนในหนาตัดดินหรือบนผิวดิน อาทิ ชุดดินพบพระ (Ppr)
                               (4) พัฒนาจากหินอัคนีชนิดหินแกรนิต ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อ
                       ดินเปนดินรวนหยาบถึงดินรวนปนชิ้นสวนหยาบมาก สีน้ําตาล น้ําตาลปนแดงถึงแดง การระบายน้ําดี เชน
                       ชุดดินบานไร (Bar) ชุดดินทับเสลา (Tas) เปนตน

                             4) พื้นที่ลาดชันเชิงซอน เปนพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกวารอยละ 35 สวนใหญเปนภูเขา
                       และเทือกเขาสูงสลับซับซอน ทรัพยากรดินมีความแตกตางกันออกไปในแตละพื้นที่
                                       ซึ่งไดแสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดตากในภาพที่ 1 - 5
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14