Page 19 - การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนากลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ Soil management for increasing sweet corn yield in post-rice crop system on soil group no.4 in Nakhonsawan province.
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                          19

                          การศึกษาการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนากลุ่มชุดดินที่ 4  จังหวัด
                   นครสวรรค์ ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2561 ถึงเดือน กันยายน 2563  ในพื้นที่บ้านห้วงสรวง หมู่ 8

                   ตำบลพิกุล อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อศึกษาวิธีการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานใน
                   ระบบพืชหลังนาในกลุ่มชุดดินที 4 การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีดิน รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ จาก
                   การศึกษาทดลอง สามารถสรุปผล ได้ดังนี้

                   1. สมบัติทางเคมีของดิน

                          จากการดำเนินการวิจัย พบว่า ดินหลังการทดลองทุกตำรับการทดลองมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างมีแนวโน้ม
                   เพิ่มขึ้นจากกรดจัดเป็นกรดเล็กน้อยยกเว้นวิธีควบคุม ปริมาณอินทรียวัตถุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกตำรับการเช่นเดียวกับ
                   ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลอง ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการตกค้างของ
                   ปุ๋ยเคมี
                   2. การเจริญเติบโตของข้าวโพดหวาน
                          จากการดำเนินการวิจัย พบว่า ช่วงอายุ 30 วัน ตำรับการทดลองที่ 6 วิธีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา
                   300 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน ต้นข้าวโพดมีความสูงมากที่สุด 49.33

                   เซนติเมตร ช่วงอายุ 45 วัน ตำรับการทดลองที่ 4 วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินต้นข้าวโพดหวานมีความสูงมาก
                   ที่สุด 128.85 เซนติเมตร ช่วงอายุ 60 วัน ตำรับการทดลองที่ 5 วิธีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กิโลกรัมต่อ
                   ไร่ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ต้นข้าวโพดหวานมีความสูงมากที่สุด 169.83 เซนติเมตร ส่วนทางด้าน
                   ความกว้างของใบข้าวโพดนั้น ช่วงอายุ 30 และ 45 วัน ตำรับการทดลองที่ 5 วิธีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300
                   กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีความกว้างของใบที่สามนับจากยอดข้าวโพดหวานมากที่สุด
                   คือ 6.67 เซนติเมตร และ 7.25 เซนติเมตร ช่วงอายุ 60 วัน ตำรับการทดลองที่ 2 วิธีของเกษตรกร โดยการปุ๋ยสูตร
                   15-15-15 จำนวน 50 กิโลกรัมต่อไร่ดิน มีความกว้างของใบที่สามนับจากยอดข้าวโพดหวานมากที่สุด 7.93
                   เซนติเมตร ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่า
                   วิเคราะห์ดิน ทำให้ต้นข้าวโพดหวานที่ปลูกในพื้นที่นากลุ่มชุดดินที่ 4 เจริญเติบโตดีขึ้น
                   3. คุณภาพของผลผลิตของข้าวโพดหวาน

                          จากการดำเนินการวิจัย พบว่า ตำรับการทดลองที่ 5 วิธีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่
                   ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ข้าวโพดมีความยาวฝักมากที่สุด 24.83 เซนติเมตร และตำรับการทดลองที่
                   3 วิธีการใส่ปุ๋ยตามอัตราแนะนำของกรมวิชาการเกษตรทำให้ข้าวโพดมีความกว้างฝักมากที่สุด 5.78 เซนติเมตร และ
                   มีความหวานมากที่สุด 16.72 องศาบริกซ์
                   4. ผลผลิตและมวลชีวภาพของข้าวโพดหวาน
                          จากการดำเนินการวิจัย พบว่า ตำรับการทดลองที่ 5 วิธีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่
                   ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตข้าวโพดหวานสูงสุด 2,559 กิโลกรัมต่อไร่  ส่วนทางด้านมวล

                   ชีวภาพของข้าวโพดหวานนั้น ตำรับการทดลองที่ 6 วิธีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับการ
                   ใส่ปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน มีน้ำหนักต้นสดข้าวโพดหวานสูงที่สุด 2,907 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการ
                   ทดลองที่ 4 วิธีการใส่ปุ๋ยการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีน้ำหนักต้นแห้งข้าวโพดหวานสูงที่สุด 754 กิโลกรัมต่อไร่
                   5. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
                          จากการศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในแปลงทดลองผลของการศึกษาการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิต
                   ข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนากลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ซุปเปอร์สวีท
                   ไอ-บริกซ์3  ตามวิธีการทดลอง ทั้ง 3 ปี พบว่า การทดลองที่ 4  มีรายได้สุทธิของการปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 3 ปี
                   สูงสุด คือ 14,310 บาทต่อไร่
                                                         ประโยชน์ที่ได้รับ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24