Page 6 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            6


                                                      หลักการและเหตุผล


                       โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชธาตุหนึ่ง  มีความสำคัญในการสร้าง

               และการเคลื่อนย้ายอาหารพวกแป้งและน้ำตาล ไปเลี้ยงส่วนที่กำลังเติบโต และส่งไปเก็บไว้เป็นเสบียงที่หัวหรือที่ลำ

               ต้น ดังนั้นพืชพวกอ้อย มะพร้าว และมันสำปะหลัง จึงต้องการโพแทสเซียมสูงมาก หากพืชขาดธาตุโพแทสเซียม
               หัวจะลีบ มะพร้าวไม่มัน และอ้อยก็ไม่ค่อยมีน้ำตาล เป็นต้น พืชที่ขาดโพแทสเซียมมักเหี่ยวง่าย แคระแกร็น ใบล่าง

               เหลือง และเกิดรอยไหม้ตามขอบใบ การวิเคราะห์ค่าโพแทสเซียมในดินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อการแนะนำ
               อัตราปุ๋ยแก่พืช โดยประสิทธิภาพในการให้ปุ๋ยกับพืชขึ้นอยู่กับการประเมินผลการวิเคราะห์ดินที่แม่นยำและการ

               ได้รับการจัดการปุ๋ยตรงตามเวลาที่เหมาะสม แต่ในปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดินของกรมพัฒนาที่ดิน มี

               ตัวอย่างดินที่ต้องทำการวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมจำนวนมาก ซึ่งการวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมใน
               ห้องปฏิบัติการทั่วไป ใช้วิธีสารละลายสกัด 1N NH OAc, pH7 (Jackson, 1958) เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมและให้ความ
                                                          4
               แม่นยำสูง แต่วิธีการตรวจสอบมีขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่างและกระบวนการทางเคมีหลายขึ้นตอน ใช้เวลานาน
               ในการตรวจสอบ ดังนั้น การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ที่ทำให้ใช้เวลารวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดการใช้สารเคมี จึง

               มีความจำเป็น ทั้งเพื่อสนับสนุนการให้บริการวิเคราะห์ดินหรือสนับสนุนด้านการวิจัยต่างๆ

                       เนียร์อินฟราเรดสเปคโตรสโคปีเป็นเทคนิคที่อาศัยความแตกต่างของการดูดซับแสงที่ช่วงความยาวคลื่น
               ย่านเนียร์อินฟราเรด ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 750 – 2,500 นาโนเมตร อาศัยหลักการสั่นสะเทือนของสสาร

               ที่ประกอบด้วยพันธะไฮโดรเจน (X-H) โดยอะตอม X ได้แก่ C, O, N และ S ซึ่งแสงเนียร์อินฟราเรดมีผลต่อการสั่น

               ของพันธะต่างๆ ในโมเลกุล และการดูดกลืนแสงที่ต่างกัน จึงทำให้สามารถวิเคราะห์สารทั้งในเชิงปริมาณและ
               คุณภาพ และสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบที่ต้องการศึกษาได้ในเวลาเดียวกัน  จึงเป็นเทคนิคที่สามารถวิเคราะห์

               ตัวอย่างได้อย่างรวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ไม่มีการทำลายตัวอย่าง ไม่มีการใช้สารเคมี ทำให้ตอบโจทย์ได้ดีในด้านของ
               ความรวดเร็วในการวิเคราะห์ มีความแม่นยำ ลดต้นทุนในการใช้สารเคมีในระยะยาวได้ และการไม่ทำลาย

               สิ่งแวดล้อม โดยในประเทศไทยมีการศึกษาด้านการใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดในการตรวจวิเคราะห์ และทำนาย

               ด้านอื่นๆ ทั้งทางภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การประเมินไนโตรเจนในใบอ้อย การประเมินคุณภาพการสี
               ของข้าว การหาองค์ประกอบเพื่อดูความสุกในผักและผลไม้ (Kurz et al.,2010) การวิเคราะห์คุณภาพดิน (Liu et

               al., 2009) ฯลฯ แต่รายงานการวิจัยและการวิเคราะห์สมบัติของตัวอย่างดินด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดในประเทศ
               ไทยยังมีไม่กว้างขวาง ส่วนใหญ่มักศึกษาด้วยตัวอย่างจำนวนน้อย หรือตัวอย่างเก็บมาจากพื้นที่ศึกษาที่จำเพาะ ไม่

               สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในวงกว้างได้ (Sudduth and Hummel, 1993) เนื่องจากยังเป็นเทคนิคใหม่

               ทางด้านการวิเคราะห์ตัวอย่างดินในประเทศไทย เพราะข้อจำกัดในเรื่องของราคา และองค์ความรู้ทางด้านหลักการ
               การวิเคราะห์ ตลอดจนการจัดการข้อมูลสเปกตรัมด้วยวิธีทางเคโมเมตริกแบบต่างๆ (Dardenne และคณะ, 2000)
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11