Page 4 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 4

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            4


                                  การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดินด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด


                           นางสาวจุฑามาศ ไกรเพิ่ม นางอัจจิมา พงษ์จินดา และนางสาวกรกนก เปรี่ยมหมื่นไวย์

                             Juthamard Kaiphoem, Audjima Phongjinda, Kornkanok Priammuenwai


                                                          บทคัดย่อ


                       โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชธาตุหนึ่ง  พืชที่ขาดโพแทสเซียมมัก

               เหี่ยวง่าย แคระแกร็น ใบล่างเหลือง และเกิดรอยไหม้ตามขอบใบ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

               พืช การวิเคราะห์ค่าโพแทสเซียมในดินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อการแนะนำอัตราปุ๋ยแก่พืช โดยประสิทธิภาพใน
               การให้ปุ๋ยขึ้นอยู่กับการประเมินผลการวิเคราะห์ดินที่แม่นยำและการได้รับการจัดการปุ๋ยได้ตรงตามเวลาที่

               เหมาะสม แต่ในปัจจุบัน วิธีการตรวจสอบดินมีขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่างและกระบวนการทางเคมีหลายขั้นตอน
               ทำให้ใช้ระยะเวลานาน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ดินในการทํานายปริมาณ

               โพแทสเซียมด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด  โดยนำตัวอย่างดินจำนวน 1,070 ตัวอย่าง มาวัดสเปกตรัมแสงในช่วง

               ความยาวคลื่น 780-2,560 นาโนเมตร ด้วยวิธีการตรวจวัดแบบสะท้อนกลับแพร่กระจาย (Diffuse reflection)
               ก่อนนำไปวิเคราะห์ค่าทางเคมี ดำเนินการสร้างสมการโดยใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน

               (PLSR) และทำการเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการทำนายกับค่าที่วัดได้จากวิธีมาตรฐานโดยการตรวจสอบแบบ Cross

               validation สมการที่สร้างขึ้นประกอบด้วย สมการจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ไม่มีการแยกปริมาณของอนุภาคดิน,
               สมการจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว ≤20%, 21-40%, 41-60% และ >60% ตามลำดับ พบว่า

                                           2
               ค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R ) ของสมการมีค่าเท่ากับ 0.54, 0.71, 0.87, 0.90 และ 0.97 ตามลำดับ โดย
               สมการที่สร้างจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว 21-40%, 41-60% และ >60% มีค่าความแม่นยำของสมการ

               (RPD) เท่ากับ 3.15, 3.22 และ 5.99 ตามลำดับ  แสดงให้เห็นว่าสมการที่สามารถใช้ในการทำนายค่าปริมาณ

               โพแทสเซียมในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ สมการที่สร้างจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคขนาดดินเหนียวตั้งแต่
               21% ขึ้นไป (R >0.87) โดยเฉพะอย่างยิ่ง สมการที่สร้างขึ้นจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว >60% (R 2
                            2
                                                 2
               =0.97) ให้สมการเทียบมาตรฐานที่มีค่า R  สูงสุดและมีแนวโน้มที่ดีที่สุดในการทำนายค่าปริมาณโพแทสเซียมในดิน
               (RPD=5.99) อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมด้วยการใช้ตัวอย่างดินที่มี specific land use เพื่อให้ได้สมการ

               ที่มีความแม่นยำสูงขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางต่อไป

               คำสำคัญ (TH): ธาตุอาหารพืช, เนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี, ปริมาณอนุภาคดินเหนียว
   1   2   3   4   5   6   7   8   9