Page 41 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           35



                    ระยะเวลา 3 เดือน จนถึงเก็บเกี่ยว ดินมีอัตราการแทรกซึมน้ำสูงกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพ ขณะที่ในกลุ่มดินเนื้อ

                    ละเอียด (เนื้อดินเป็นดินเหนียว) อัตราการแทรกซึมน้ำเริ่มต้นแตกต่างกันไปตั้งแต่ 19.5 ถึง 94.5 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง
                    และอัตราการแทรกซึมน้ำท้ายสุด 0.17 ถึง 0.63 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ในช่วงปีแรกหลังใส่ถ่านชีวภาพอัตรา 2,000
                    กิโลกรัมต่อไร่ ระยะเวลา 3 เดือน จนถึงเก็บเกี่ยว ดินมีอัตราการแทรกซึมน้ำสูงกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพ

                        การศึกษาพบว่าการใส่ถ่านชีวภาพไม้ประดู่อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลให้ปริมาณความชื้น และอัตราการ
                    แทรกซึมน้ำของดินทั้ง 3 กลุ่มเนื้อดิน ในช่วงปีแรกมีปริมาณสูงกว่าแปลงที่ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ สิ่งสำคัญที่มีผลต่อ

                    ความชื้นในดิน คือการแทรกซึมน้ำของดินหรือการเคลื่อนย้ายน้ำลงดิน ซึ่งน้ำที่มีการซึมลงดินนี้เองจะเป็นส่วนหนึ่ง
                    ของความชื้นในดิน ถ้าปริมาณการซึมน้ำมีมากก็จะทำให้มีปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้นในดิน สอดคล้องกับการศึกษาของ
                    Verheijen และคณะ (2010) รายงานว่าการใส่ถ่านชีวภาพปริมาณ 1-2 เปอร์เซนต์ (โดยน้ำหนักเปียก) ช่วยเพิ่ม

                    สมบัติทางกายภาพดินได้ (ความจุน้ำในดิน) Abel และคณะ (2013) กล่าวว่าถ่านชีวภาพ 2.5 เปอร์เซนต์ (น้ำหนัก
                    แห้ง) ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นสูงสุดในดินทราย ขณะที่ Gaskin และคณะ (2007) พบว่าการใส่ถ่านชีวภาพ 2

                    เปอร์เซนต์ ไม่ทำให้ปริมาณน้ำในดินร่วนปนทรายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่จะเห็นผลชัดเจนขึ้นเมื่อใส่ถ่าน
                    ชีวภาพเพิ่มขึ้นถึง 8 เปอร์เซนต์ การเติมถ่านชีวภาพไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มกระบวนการต่าง ๆ เช่น การเก็บน้ำในดิน

                    และการนำไฟฟ้า แต่อาจช่วยเพิ่มความสามารถในการแทรกซึมน้ำของดิน (Igbadunh et al., 2016) อย่างไรก็ตาม
                    ไม่ใช่ว่าถ่านชีวภาพจากวัตถุดิบทุกชนิดจะเหมาะสมที่สุดสำหรับการปรับปรุงค่าเริ่มต้นการแทรกซึมน้ำของดิน และ

                    โครงสร้างดิน การแทรกซึมอาจได้รับผลกระทบจากอนุภาคผิวดินที่มีสภาวะไม่ชอบน้ำ (soil Hydrophobicity)
                    (Assouline and Mualem, 1997) ดินที่ไม่ชอบน้ำ (โดยเฉพาะดินแห้งมาก) อาจทำให้อัตราการแทรกซึมน้ำเริ่มต้น
                    ต่ำเพิ่มขึ้นเป็นเวลามาก ตรงกันข้ามกับดินที่มีสมบัติไม่กันน้ำมีอัตราการแทรกซึมเริ่มต้นสูง มีการศึกษาเพียงเล็กน้อย

                    ที่ศึกษาผลกระทบของถ่านชีวภาพต่อการแทรกซึมและการไหลบ่า Itsukushima et al. (2016) รายงานว่าดินที่
                    ปรับปรุงด้วยถ่านชีวภาพไม้ไผ่ และฮิวมัสจะมีอัตราการแทรกซึมเริ่มต้นและขั้นสุดท้ายสูงกว่าดินที่ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ

                    Hamidreza Sadeghi et al. (2016) รายงานว่าก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝนเมื่อมีการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพ จะช่วย
                    ลดการไหล่บ่าของน้ำ เนื่องจากถ่านชีวภาพช่วยเพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ำ หรือเพิ่มความสามารถในการ

                    แทรกซึมน้ำของดินชั้นบน
                      ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตมันสำปะหลังในแต่ละกลุ่มเนื้อดิน ตามวิธีการใส่ถ่านชีวภาพทั้ง 3 อัตรา
                    ประกอบด้วยน้ำหนักสดเหนือดิน (น้ำหนักลำต้น เหง้า กิ่งก้านและใบ) ผลผลิตหัวมันสำปะหลัง ร้อยละการสะสมแป้ง
                    และผลผลิตแป้ง พบว่าในทั้ง 3 กลุ่มเนื้อดิน การใส่ถ่านชีวภาพไม่ทำให้ได้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นอย่างมี

                    นัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่าช่วงปีแรกการใส่ถ่านชีวภาพอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลทำให้น้ำหนักลำต้นในดิน
                    เนื้อหยาบและดินเนื้อละเอียด และน้ำหนักส่วนเหนือดินในดินเนื้อหยาบสูงกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพ (ตำรับควบคุม)
                    อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46