Page 40 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           34



                                                   สรุปและวิจารณ์ผลการวิจัย


                        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของถ่านชีวภาพไม้ประดู่ที่มีต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำ
                    ในดินปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งกลุ่มพื้นที่ศึกษาตามลักษณะเนื้อดิน 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มดินเนื้อ
                    หยาบ เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน พื้นที่อำเภอจักราช กลุ่มดินเนื้อปานกลาง (เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง)
                    พื้นที่อำเภอห้วยแถลง อำเภอลำปลายมาศ และกลุ่มดินเนื้อละเอียด (เนื้อดินเป็นดินเหนียว) พื้นที่อำเภอปากช่อง
                    โดยมีสมติฐานงานวิจัยว่าการนำถ่านชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดินปลูกมันสำปะหลัง สามารถช่วยดูดซับ
                    ความชื้นให้อยู่ในดินทุกลักษณะเนื้อดินได้ยาวนานขึ้น ส่งผลให้เกิดกิจกรรมการย่อยสลายและแปรสภาพธาตุอาหาร

                    ให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากในระหว่างการเพาะปลูกดินสามารถกักเก็บความชื้นได้
                    ดี ก็จะสามารถให้ผลผลิตที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นด้วย การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บข้อมูลอัตราการแทรกซึมน้ำ
                    (Double-ring Infiltrometer test) และปริมาณความชื้น ด้วยเครื่อง Profile Probe ที่ระดับความลึกดินจากผิวดิน
                    6 ระดับ ได้แก่ 10, 20, 30, 40, 60 และ 100 เซนติเมตร ตามระยะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง 3 ช่วง ได้แก่
                    ระยะ 1 เดือน ระยะ 3 เดือน และระยะเก็บเกี่ยว รวมทั้งข้อมูลผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตมันสำปะหลัง
                        จากข้อมูลการศึกษาปริมาณความชื้นดินในกลุ่มดินเนื้อหยาบ ตามวิธีการใส่ถ่านชีวภาพทั้ง 3 วิธี (T1: ไม่ใส่ถ่าน
                    ชีวภาพ; T2: ใส่ถ่านชีวภาพทุกปี ปีละ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่รวม 2 ปี และ T3: ใส่ถ่านชีวภาพเพียงครั้งเดียว 2,000

                    กิโลกรัมต่อไร่) มีความผันแปรของความชื้นในดินเฉลี่ยรายเดือนตามระดับความลึกดิน ความผันแปรของความชื้นใน
                    ดินตามช่วงเวลาการเพาะปลูกอยู่ในช่วงระดับความลึก 0-60 เซนติเมตร ทั้งนี้เนื่องจากที่ระดับความลึกดินดังกล่าว

                    ได้รับอิทธิพลจากรากและหัวมันสำปะหลังที่อยู่ในระดับความลึกนี้ และความชื้นในดินมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ระดับความ
                    ลึกดิน 60 เซนติเมตร (ความชื้น 30 เปอร์เซ็นต์) พบว่าผลการใส่ถ่านชีวภาพอัตราปีละ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ (T2)

                    และอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ (T3) ส่งผลให้ดินกลุ่มเนื้อหยาบที่ระดับความลึก 60-100 เซนติเมตร มีปริมาณ
                    ความชื้นสูงกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพ (T1) กลุ่มดินเนื้อปานกลาง และกลุ่มดินเนื้อละเอียดพบว่ามีความผันแปรของ

                    ความชื้นในดินเฉลี่ยรายเดือนตามระดับความลึกดินเช่นเดียวกับกลุ่มดินเนื้อหยาบ ความชื้นในดินมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่
                    ระดับความลึกดิน 100 เซนติเมตร (กลุ่มเนื้อดินปานกลางความชื้นสูงสุด 54.8 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มดินเนื้อละเอียด
                    ความชื้นสูงสุด 52.1 เปอร์เซ็นต์) ในกลุ่มดินเนื้อปานกลางพบว่าผลการใส่ถ่านชีวภาพอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่

                    (T3) ส่งผลให้ที่ระดับความลึกดิน 0-20 เซนติเมตร มีปริมาณความชื้นสูงกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพ ส่วนในกลุ่มดินเนื้อ
                    ละเอียดการใส่ถ่านชีวภาพอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ (T2) ระยะเวลา 2 ปี ส่งผลให้ที่ระดับความลึกดิน 60-100

                    เซนติเมตร มีปริมาณความชื้นสูงกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพ
                        การแทรกซึมน้ำของดินในกลุ่มดินเนื้อหยาบ (เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน) ที่เป็นดินปลูกมันสำปะหลังส่วน

                    ใหญ่ในประเทศไทย เป็นดินที่มีขนาดอนุภาคทรายสูง อัตราการแทรกซึมน้ำต่ำ ผลการศึกษามีอัตราการแทรกซึมน้ำ
                    เริ่มต้นแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2.5 ถึง 24.0 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และอัตราการแทรกซึมน้ำท้ายสุด 0.01 ถึง 0.17

                    มิลลิเมตรต่อชั่วโมง การใส่ถ่านชีวภาพในกลุ่มดินเนื้อหยาบพบว่าช่วง 3 เดือนหลังปลูก ดินแปลงที่ใส่ถ่านชีวภาพ
                    อัตรา 2,000 และ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีอัตราการแทรกซึมน้ำสูงกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพ กลุ่มดินเนื้อปานกลาง
                    (เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง) ซึ่งเป็นดินที่เหมาะสมกับการปลูกมันสำปะหลัง ดินมีความโปร่งซุย ระบายน้ำ

                    ส่วนเกินได้ดี ผลการศึกษาอัตรการแทรกซึมน้ำเริ่มต้นแตกต่างกันไปตั้งแต่ 1.10 ถึง 19.0 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และ
                    อัตราการแทรกซึมน้ำท้ายสุด 0.00 ถึง 0.12 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง หลังใส่ถ่านชีวภาพอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45