Page 39 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           34

                                                          สรุปผลและข้อเสนอแนะ

                          การศึกษาอิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่

                   สามารถสรุปได้ดังนี้

                          1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติดิน ในตำรับที่ 5 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจาก
                   โปรแกรม TSFM และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2 ตันต่อไร่ มีแนวโน้มทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ดินมีความเป็นกรด
                   ด่าง 6.87 อยู่ในระดับที่เป็นกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุ และปริมาณคาร์บอนในดิน มีค่าเฉลี่ย 2.44 และ 2.32
                   เปอร์เซ็นต์ ส่วนปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมในดิน มีค่าเฉลี่ย 91.33 และ 434
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มลดลงจากก่อนดำเนินการเนื่องจากพืช เป็นแหล่งของธาตุอาหารหลักที่
                   พืชนำไปใช้ในเการเจริญเติบโตและสะสมอาหารในเมล็ด ส่วนปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียม มีปริมาณ 1,977.67

                   และ 209.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากก่อนดำเนินการ
                          2. การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดในฤดูปลูกที่ 1 พบว่า ตำรับที่ 6 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูก
                   ร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตันต่อไร่ มีความสูงต้นอายุ 60 วันหลังปลูก
                   เฉลี่ยสูงที่สุด 276.87 เซนติเมตร และให้ผลผลิต 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลตอบเทนสูงสุด 9,567.90 บาทต่อไร่ ใน

                   ฤดูปลูกที่ 2 พบว่า ตำรับที่ 5 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM และปุ๋ย
                   อินทรีย์อัตรา 2 ตันต่อไร่ ให้ผลผลิต 1,414.45 กิโลกรัมต่อไร่ และผลตอบแทนสูงที่สุด 7,581 บาทต่อไร่
                          3. ธาตุอาหารในต้นข้าวโพด (ส่วนเหนือดิน) มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
                   โพแทสเซียม เฉลี่ย 34.52 0.97 0.05 1.67 เปอร์เซ็นต์ ส่วนของราก มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส

                   และโพแทสเซียม เฉลี่ย 18.46 0.612 0.04 และ 0.90 เปอร์เซ็นต์ และในเมล็ด มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ไนโตรเจน
                   ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เฉลี่ย 42.73 2.09 0.21 0.45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเศษซากข้าวโพดที่หลงเหลืออยู่แปลง
                   หลังจากเก็บเกี่ยวนั้น พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 517.33-954.67 ตันต่อไร่

                          การเผาเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดขึ้นทุกปี หลายภาคส่วนได้ร่วมกัน
                   รณรงค์อย่างต่อเนื่อง เกษตรกรส่วนหนึ่งเริ่มตระหนักถึงผลเสียจากการเผาและพยายามหลีกเลี่ยงมากขึ้น แต่ต้อง
                   ยอมรับว่า การเผาเป็นวิถีชีวิต และวิธีปฏิบัติที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน บางส่วนยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้
                   หน่วยงานภาครัฐพยายามจัดหาวัสดุเครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อช่วยย่อยวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรดังกล่าว เช่น เครื่อง
                   บดย่อยเศษวัสดุ เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมักเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินได้อีกทางหนึ่ง จากการศึกษาเรื่องอิทธิพลจากการเผา
                   ต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพิจารณาด้านการเจริญเติบโตและ
                   ผลผลิตข้าวโพดแล้ว พบว่าการเผาไม่ได้ช่วยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่จะเป็นการสร้างมลพิษทางอากาศ และส่งผล

                   กระทบต่อสุขภาพของคนในพื้นที่ แต่หากมีการจัดการดินและธาตุอาหารโดยไม่เผา จะสามารถทำให้เกษตรกรมี
                   รายได้มากขึ้น

                                                         ประโยชน์ที่ได้รับ

                          1. ได้แนวทางการจัดการธาตุอาหารในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
                          2.  ได้ข้อมูลเบื้องต้นด้านสมบัติดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และคาร์บอนในดินจากผลกระทบจากการเผา

                   และการจัดการธาตุอาหารแต่ละตำรับในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม
                          3.  ได้แนวทางจัดการธาตุอาหารต่อระบบการปลูกข้าวโพด การเจริญเติบโต สมบัติดิน ความอุดมสมบูรณ์
                   ของดิน และคาร์บอนในดิน
                          4. ได้แนวทางการจัดการดินและพืชเพื่อลดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44