Page 41 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        36



                                                          ภาคผนวก


                   ข้อมูลชุดดิน 60

                          ชุดดิน : ดินตะกอนลำน้ำเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ำดี (AC-wd : Alluvial Complex, well drained)

                          ลักษณะเด่น : กลุ่มดินร่วนที่เกิดจากดินตะกอนน้ำพาเชิงซ้อน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง การ

                   ระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

                          สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กนอย ความลาดชัน 0-5 %

                          ปัญหา : ดินปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำ และในพื้นที่ที่มีความลาดชันดินง่ายต่อการถูก

                   ชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดิน

                          แนวทางการจัดการ : ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก เลือกพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือ
                   ปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 8-10 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่

                   หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มี
                   วัสดุคลุมดิน หรือปลูกพืชหมุนเวียน พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก ปลูกไม้ผล ขุดหลุมปลูก
                   ขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ย
                   อินทรีย์น้ำ มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น การสร้างคันดิน ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชแซม วัสดุคลุมดิน ทำแนวรั้ว

                   หรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ย
                   คอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

                   ที่มา : สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน (2548)


                   ภาพภาคผนวกที่ 1  ภาพหน้าตัดดิน และตารางสมบัติทางเคมี

                                                            ความจุ                                ความอุดม
                                         ความลึก                      ความ   ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
                         สมบัติทางเคมี     (ซม.)  อินทรียวัตถุ แลกเปลี่ยน  อิ่มตัวเบส ที่มีประโยชน์ ที่มีประโยชน์  สมบูรณ์
                                                           แคตไอออน                                ของดิน
                                           0-25   ปานกลาง     ต ่า     ต ่า     ต ่า       ต ่า     ต ่า


                                          25-50     ต ่า      ต ่า     ต ่า     ต ่า       ต ่า     ต ่า
                                          50-100    ต ่า      ต ่า     ต ่า     ต ่า       ต ่า     ต ่า
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46