Page 15 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                          ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่มีความส าคัญต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยธาตุฟอสฟอรัสจะช่วย
                   ให้รากของพืชแข็งแรง และแผ่กระจายได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ล าต้นแข็งแรงตามไปด้วย ปกติแล้วธาตุ

                   ฟอสฟอรัสจะมีอยู่ในดินมากพออยู่แล้ว เป็นธาตุที่ไม่ค่อยเคลื่อนที่ในดินหรือละลายน้ าได้ยาก ซึ่งจะท าให้พืช

                   ดูดเอาไปใช้ได้ยากด้วย แม้แต่ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินโดยตรงประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ ของธาตุฟอสฟอรัส
                   ทั้งหมด จะถูกดินยึดไว้โดยการท าปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน ฟอสฟอรัสในดินมีก าเนิดมาจากการ

                   สลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัส
                   ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับไนโตรเจน ฟอสฟอรัสที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ จะต้องอยู่

                   ในรูปของอนุมูลของ สารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H PO  และ HPO ) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ า
                                                                           -
                                                                                     2-
                                                                          4
                                                                       2
                                                                                     4
                   ในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจ านวนมากแต่ส่วนใหญ่ละลายน้ ายาก ดังนั้น จึงมักจะมี
                   ปัญหาเสมอว่าดินถึงแม้จะมีฟอสฟอรัสมากก็จริงแต่พืชก็ยังขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลาย
                   น้ ายาก นอกจากนั้น แร่ธาตุต่าง ๆ ในดินมักท าปฏิกิริยากับอนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ าได้ กลายเป็น

                   สารประกอบที่ละลายน้ ายาก พืชจึงไม่สามารถดูดไปใช้ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ดินกรด มักท าปฏิกิริยากับ เหล็ก
                   อะลูมินัม หรือแมงกานีส ดังนั้น การใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจึงไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดินเพราะยิ่งจะท าให้ปุ๋ยท า

                   ปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ควรจะใส่แบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินใน
                   บริเวณรากของพืช เมื่อพืชดูดฟอสฟอรัสไปใช้ ฟอสฟอรัสมีบทบาทช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อ

                   สร้างแป้งและน้ าตาล โดยท าหน้าที่เป็นองค์ประกอบของรูปพลังงานที่จ าเป็นต้องใช้ในกระบวนการดังกล่าว

                   นอกจากนี้ ฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ส าคัญหลายชนิด ช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การ
                   ผสมเกสร ตลอดจนการติดเมล็ด สร้างระบบรากให้แข็งแรง ช่วยในการแตกกอ และช่วยให้ล าต้นแข็งแรงไม่ล้ม

                   ง่าย ช่วยให้พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนและโมลิบดีนัมได้ดีขึ้น ดังนั้น เมื่อพืชขาดธาตุฟอสฟอรัส จะส่งผลให้ราก
                   พืชไม่เจริญเติบโต มีรากฝอยน้อย ต้นเตี้ย ใบและต้นมีสีเข้มและบางครั้งมีสีม่วงหรือแดงเกิดขึ้น พืชแก่ช้ากว่า

                   ปกติ เช่น การผลิดอก ออกผลช้า มีการแตกกอน้อย การติดเมล็ดน้อย หรือบางครั้งไม่ติดเมล็ด

                          โพแทสเซียมในดินที่พืชน าเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ มีก าเนิดมาจากการผุผังสลายตัวของหินและแร่
                                                                                 +
                   หลายชนิด โพแทสเซียมที่อยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือโพแทสเซียมไอออน (K ) เท่านั้น ที่พืชจะดึงดูดไปใช้เป็น
                   ประโยชน์ได้ ถ้าธาตุโพแทสเซียมยังคงอยู่ในรูปของสารประกอบของหินและแร่ พืชก็ยังดึงดูดไปใช้เป็น

                   ประโยชน์ไม่ได้ อนุมูลโพแทสเซียมในดินที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้ อาจจะอยู่ในสารละลายดิน หรือดูดยึดอยู่ที่
                   พื้นผิวของอนุภาคดินเหนียว แต่ส่วนใหญ่จะดูดยึดที่พื้นผิวของอนุภาคดินเหนียว ดังนั้น ดินที่มีเนื้อดินละเอียด

                   เช่น ดินเหนียว จึงมีปริมาณของธาตุนี้สูงกว่าดินพวกเนื้อหยาบ เช่น ดินทราย และดินร่วนปนทราย ถึงแม้

                   โพแทสเซียมไอออน จะดูดยึดอยู่ที่อนุภาคดินเหนียว รากพืชก็สามารถดึงดูดธาตุนี้ไปใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย
                   เช่นเดียวกับส่วนที่อยู่ในสารละลายดิน ดังนั้น การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอาจจะใส่แบบคลุกเคล้าให้เข้ากับดินก่อน

                   ปลูกพืชได้ หรือจะใส่โดยโรยบนผิวดิน แล้วพรวนกลบก็ได้ถ้าปลูกพืชไว้ก่อนแล้ว ส าหรับในเนื้อเยื่อของพืช
                   สามารถพบโพแทสเซียมในรูปของเกลืออนินทรีย์ และเกลืออินทรีย์ ที่สามารถละลายน้ าได้ มีบทบาทส าคัญใน

                   ด้านสรีรวิทยาและชีวเคมี เช่น การท างานของเอนไซม์ สมดุลออสโมติก ควบคุมการปิดเปิดปากใบ ต่อเนื่อง

                   มาถึงส่งเสริมการสังเคราะห์ด้วยแสง และการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารหรือสารอาหารภายในเซลล์ เพื่อไปเลี้ยง
                   ส่วนที่ก าลังเติบโต และส่งไปเก็บไว้เป็นเสบียงที่หัวหรือล าต้น ดังนั้น พืชพวกอ้อย มะพร้าว และ พืชหัวทุก
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20