Page 12 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                       หลักการและเหตุผล


                          รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์

                   ดึงดูดให้ชาวต่างประเทศ มาใช้บริการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นการน า
                   รายได้มาสู่ประเทศและยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ ดังนั้น จึงมีนโยบายเร่งด่วนและ

                   สนับสนุนให้มีการพัฒนางานวิจัยและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรของไทย ทั้งในด้านการผลิตเป็นยารักษา

                   โรคเพื่อทดแทนการนาเข้ายาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ และการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า
                   และผลักดันให้เป็นสินค้าส่งออก โดยเฉพาะขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) จัดเป็นพืชสมุนไพร 1 ใน 6 ชนิด

                   ของยาบัญชีหลัก เนื่องจากในเหง้าขมิ้นชันพบสาร เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้าน
                   อนุมูลอิสระ จึงมีการนามาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายทั้งทางด้านยา อาหาร และเครื่องส าอาง ส าหรับพื้นที่

                   ปลูกขมิ้นชันในประเทศไทยมีประมาณ 5,000 ไร่ โดย 90 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในภาคใต้ ส่วนใหญ่ปลูกเป็นพืชรอง
                   หรือพืชเสริมรายได้ในช่วงที่ราคายางพาราตกต่ า การปลูกขมิ้นชันเป็นพืชเชิงเดี่ยวมีน้อย ท าให้ไม่มีการเก็บ

                   สถิติเนื้อที่ปลูกและผลผลิต (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2548) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการใช้ปุ๋ยในขมิ้นชัน

                   อาจยังไม่มีความเหมาะสมหรือเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากมีข้อมูลการศึกษาน้อย โดยเฉพาะระดับธาตุ
                   อาหารหลักที่เหมาะสม ซึ่งเป็นธาตุที่พืชต้องการในอัตราสูง การขาดข้อมูลอ้างอิง จึงอาจก่อให้เกิดความไม่

                   สมดุลของธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ใส่กับส่วนที่สูญเสียไปกับผลผลิต ในระยะยาวจึงอาจส่งผลให้ดินเสื่อมคุณภาพ

                   ลง หรือในกรณีที่ใส่ปุ๋ยธาตุใดธาตุหนึ่งในปริมาณมากเกินความต้องการของพืช อาจมีผลลดความเป็น
                   ประโยชน์ของธาตุอาหารชนิดอื่น จากอ านาจการเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกันของธาตุอาหาร ดังนั้น การสร้าง

                   ข้อมูลพื้นฐานส าหรับใช้จัดการธาตุอาหารหลักในขมิ้นชันจึงมีความจ าเป็น เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงส าหรับ

                   จัดท าค าแนะน าการใช้ปุ๋ยแก่เกษตรกร อันจะน าไปสู่การจัดการธาตุอาหารในดินที่มุ่งสู่ความยั่งยืนต่อไป
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17