Page 14 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                        การตรวจเอกสาร


                          ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นพืชในตระกูลซิงจิเบอราซีอี (Zingiberaceae) ชื่อสามัญอื่น คือ
                   ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ

                   (กะเหรี่ยง กาแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้) เป็นสมุนไพรที่มักพบใน
                   ชีวิตประจ าวัน โดยนิยมใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกง

                   เหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้น เป็นต้น มีงานศึกษาวิจัยพบว่าขมิ้นชันมีคุณค่าต่อสุขภาพ

                   โดยเฉพาะขมิ้นชันในภาคใต้มีคุณภาพดีที่สุดในโลกเนื่องจากมี สารส าคัญ คือ เคอร์คูมินอยด์ และน้ ามันขมิ้น
                   สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ที่มีการปลูกขมิ้นทั้งหมด ขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีล าต้นจริงอยู่ใต้ดิน

                   เรียกว่า เหง้า (rhizome) ซึ่งประกอบด้วยเหง้าหลักใต้ดิน เรียกว่า “หัวแม่” มีลักษณะรูปไข่และแตกแขนง

                   ทรงกระบอกออกด้านข้างทั้ง 2 ด้าน เรียกว่า “แง่ง” ส่วนล าต้นเหนือดิน เป็นล าต้นที่เกิดจากการอัดตัวกัน
                   ของกาบใบ มีความสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร ขมิ้นชันมีเนื้อสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดเข้มมีกลิ่นเฉพาะตัว

                   ซึ่งมาจากน้ ามันหอมระเหยที่มีอยู่ภายใน (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2548) สารส าคัญในขมิ้นชัน ได้แก่
                   เคอร์คูมินอยด์ เป็นสารสีเหลืองสกัดจากเหง้าขมิ้นชัน ประกอบด้วย สารหลัก 3 ตัว คือ เคอร์คูมิน

                   (curcumin) ดี เม ท็ อ ก ซี่ เค อ ร์คู มิ น  (demethoxycurcumin) แ ล ะ บิ ส ดี เม ท็ อ ก ซี่ เค อ ร์คู มิ น

                   (Bisdemethoxycurcumin) เคอร์คูมินอยด์ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี จึงน ามาใช้ประโยชน์ทั้ง
                   ทางด้านยา อาหาร และเครื่องส าอาง ได้มีการวิจัยทั้งในคนและสัตว์ทดลอง พบว่า เคอร์คูมินอยด์มีฤทธิ์ต้าน

                   การอักเสบ ฤทธิ์บ ารุงรักษาตับ ช่วยป้องกันมะเร็ง ฤทธิ์ในการลดระดับคอเลสเตอรอล และฤทธิ์ในการป้องกัน
                   สมองเสื่อม การวิเคราะห์หาปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ พบว่า วิธีการสกัดที่ให้ปริมาณสารส าคัญมาก ที่สุด คือ

                   soxhlet extraction (Mara et. al., 2006) ปัจจุบัน การใช้ปุ๋ยในขมิ้นชันอาจยังไม่มีความเหมาะสมหรือเกิด

                   ประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งอาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารชนิดอื่น ๆ ในดิน เนื่องจากยังคงขาด
                   ข้อมูลพื้นฐานที่เหมาะสมส าหรับใช้จัดการธาตุอาหารตามหลักวิชาการ โดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน

                   ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณสูงส าหรับใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต

                          ไนโตรเจน เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดย
                   ปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง

                   78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของ

                   โปรตีน และเป็นองค์ประกอบหลักของสารที่อยู่ในกรดนิวคลีอิกต่าง ๆ เช่น DNA ส าหรับบทบาทของ
                   ไนโตรเจนที่มีต่อพืช ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นรงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการ

                   สังเคราะห์แสงเพื่อผลิตอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ จึงเป็นธาตุที่จ าเป็นส าหรับพืชเป็นอย่างยิ่ง โดยพืชดูดใช้
                                                                    +
                   ไนโตรเจนจากดินในรูปของแอมโมเนียมและไนเตรท (NH  และ NO ) หากพืชขาดไนโตรเจน ส่วนใหญ่มัก
                                                                             -
                                                                   4
                                                                             3
                   แสดงอาการ ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง หรือถ้าพืชขาดไนโตรเจนอย่างรุนแรง จะแสดงอาการ
                   ใบเหลือง โดยเฉพาะ บริเวณต าแหน่งใบที่อยู่ระดับล่าง สาเหตุการขาดไนโตรเจน เกิดจากสภาพปัญหาดิน
                   เสื่อมโทรม มีการชะล้างพังทลายสูง ขาดอินทรียวัตถุ หรือไนโตรเจนสูญหายไปกับผลผลิต อย่างต่อเนื่อง แต่

                   การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนไม่เพียงพอกับปริมาณที่สูญเสียไปจากพื้นที่
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19